หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

หานซิ่น...วีรบุรุษสงครามผู้มากด้วยกลยุทธต้นราชวงศ์ฮั่น

รูปภาพของ วี่ฟัด

หานซิ่น...วีรบุรุษสงครามผู้มากด้วยกลยุทธต้นราชวงศ์ฮั่น

ในยุคสงครามแย่งกันเป็นใหญ่ระหว่างรัฐฉู่และรัฐฮั่น หลิวปังจะไม่ประสพความสำเร็จเลยถ้าไม่ได้สามวีรบุรุษที่คอยค้ำยันเขาให้ต่อกรกับเซี่ยงยวี่จนสามารถสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นปกครองประเทศจีนได้ สามวีรบุรุษในยุคต้นฮั่น คือ จางเหลียง เซียวเหอ และนักรบผู้ยิ่งใหญ่ หานซิ่น

                       

หานซิ่น (มีอายุระหว่างก่อนคริสต์ศักราช 231 ถึงก่อนคริสต์ศักราช 196) เป็นชาวฮั่น บ้านเดิมอยู่ที่หวยอิน (淮阴,ปัจจุบัน คือ เมืองหวยอัน淮安 มณฑลเจียงซู江苏) วีรบุรุษผู้ร่วมก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก และเป็นนักยุทธศาสตร์ที่มีความโดดเด่นคนหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนร่วมกับเซียวเหอ (萧何) และ จางเหลียง (张良) รวมกันเป็น “สามวีรบุรุษแห่งต้นราชวงศ์ฮั่น” หลังจากเอาชนะ ฉีหวาง และฉู่หวางสำเร็จถูกขับให้กลับไปอยู่ที่หวยอิน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นทำวีรกรรมทางทหารจนมีชื่อเสียงไว้มาก แต่ต่อมาโดนอิจฉาโดยหลิวปัง ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฮั่นจึงถูกคำสั่งข้อหากบฎและถูกประหารชีวิต มีบันทึกพิเศษเกี่ยวกับชีวประวัติของหานซิ่น มีชื่อว่า “สือจีหวยอินโฮวเลี่ยฉวน” (史记·淮阴侯列传หานซิ่น ถูกยกย่องว่าเป็น “นักคิดการทหารจีน” และในขณะเดียวกันยกย่องเซียวเหอ ว่าเป็น “นักวิชาการรัฐที่ไม่มีใครเท่าทียม” หลิวปังเคยประเมินว่า “การเอาชนะสงคราม การโจมตีต้องกระทำ แต่ไม่ใช่ข้าต้องเป็นหานซิ่น

 

หลิวปังเริ่มต้นไม่ได้ใช้งานหานซิ่นเพื่อทำการ คิดว่าเขาเป็นแค่นายทหารธรรมดา ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายทหาร เคยกระทำผิดเกือบจะโดนประหารชีวิต ในห้วงเวลานั้นหานซิ่นท้อถอย เหม่อมองฟ้าและน้อยใจในชตาชีวิตของตัวเอง รำพันออกมาว่า “ไฉนฮั่นหวาง (หลิวปัง)ไม่คิดครองแผ่นดินหรือไร ไฉนอยากเอาชีวิตนักรบอย่างข้าด้วย” ถังกง เซี่ยโฮวอิง(滕公夏侯婴) ซึ่งดำรงตำแหน่งนายทหารใหญ่ได้ยินคำที่หานซิ่นเอ่ย มองดูหานซิ่น รู้สึกว่านายทหารหนุ่มคนนี้ไม่ธรรมดา จึงปล่อยเขา หลังจากพูดคุยกันจนตระหนักว่านายทหารหนุ่มคนนี้มีดี จึงแนะนำเขาให้กับหลิวปัง หลิวปังแต่งตั้งให้หานซิ่นเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการปันส่วนผลผลิต แต่ยังไม่ค้นพบความเก่งกาจในตัวหานซิ่น หานซิ่นเห็นว่าหลิวปังปฎิเสธที่จะใช้เขาทำการใหญ่จึงตัดสินใจที่ลาออกจากกองทัพฮั่น  ฝ่ายเซียวเหอซึ่งรู้ในคุณค่าของหานซิ่นทราบข่าวในคืนนั้นรีบขี่ม้ากวดไล่หลังตามหาหานซิ่น ชักชวนให้เขากลับไป กลายเป็นสำนวน “เซียวเหอเย่วเซี่ยจุยหานซิ่น” (萧何月下追韩信) หมายถึงการเจรจาที่งดงาม

ในขณะที่เซียวเหอออกไปตามหาหานซิ่น หลิวปังคิดว่าเซียวเหอกำลังหนีไป อารมณ์พุ่งโกรธเหมือนกำลังขาดมือขวาไป เมื่อเซียวเหอตามตัวหานซิ่นกลับมาได้ สองวันต่อมาเขาไปเข้าพบหลิวปัง หลิวปังถามเซียวเหอว่า “ทำไมคิดหนีไป” เซียวเหอตอบกลับว่า “เพื่อเอาตัวหานซิ่นกลับมา” หลิวปังกล่าวด้วยอารมณ์โกรธว่า “มีนายทหารหนีทัพไปเป็นสิบๆคน เจ้าไม่ตามกลับมา แต่เจ้าเลือกที่จะตามตัวหานซิ่น เจ้าจะหลอกใคร” เซียวเหอตอบ “แม่ทัพทั่วไปหาได้ง่าย แต่จะหาคนที่เก่งกาจเหมือนหานซิ่นในโลกนี้หาตัวจับยาก (จูเจียงอี่เต๋อเอ่อร์, 诸将易得耳) สำหรับหานซิ่น แม่ทัพที่มีความสามารถพิเศษนี้ ถ้าท่านต้องการจะเป็นฮั่นจงหวาง (汉中王) ตลอดชีวิต ท่านต้องใช้เขาทำการใหญ่ ถ้าจะยึดครองโลกจะขาดหานซิ่นไม่ได้ ท่านฮั่นจงหวาง” หลิวปัง กล่าว “ข้าต้องการจะขยายดินแดนไปทางทิศตะวันออก ไม่ใช่ปกครองเพียงฮั่นจง (汉中) ทำไมข้าจะไม่อ่อนโน้มถ่อมตนเพื่อแผ่นดินที่ข้าต้องการตลอดชีวิตนี้” เซียวเหอ กล่าว “จิตใจยิ่งใหญ่ของท่านที่จะครองโลก ต้องใช้หานซิ่นทำการ ให้หานซิ่นอยู่กับพวกเรา ถ้าท่านไม่ใช้เขา เขาก็จะหนีจากไป” หลิวปังจึงกล่าวว่า “ให้เขาเป็นแม่ทัพใหญ่ท่านเห็นว่าเป็นยังไง” เซียวเหอ กล่าว “ถ้าเป็นความปรารถนาเช่นนี้ หานซิ่นจะไม่หนีไปไหน” หลิวปัง จึงกล่าว “ขอบคุณท่านนายพล” เซียวเหอ รำพึงว่า “ดีแล้ว ดีแล้ว” หลังจากนั้นหลิวปังคิดจะประกาศแต่งตั้งหานซิ่นในวันนั้น เซียวเหอ กลับกล่าวต่อว่า “ท่านมักเป็นคนที่หยาบคายและอวดดี วันนี้ต้องขอบคุณท่านที่รับฟังคำของผู้น้อยอย่างข้า นี่คือเหตุผลที่หานซิ่นต้องการลาออก ถ้าท่านต้องการแต่งตั้งหานซิ่นเป็นแม่ทัพนายพลท่านควรหาฤกษ์ยามที่ดี อดอาหาร บวงสรวงเทวดาและทำพิธีเฉลิมฉลองให้ถูกต้อง” หลิวปัง รับปากและประกาศวันแต่งตั้งแม่ทัพใหม่ไปทั่วกองทัพ แม่ทัพนายกองทั้งหลายต่างดีใจ ทุกๆคนต่างคิดว่าตนเองมีโอกาสเป็นแม่ทัพเหมือนกัน จวบจนพิธีแต่งตั้งแม่ทัพมาถึงประกาศอย่างเป็นทางการยกหานซิ่นขึ้นเป็นแม่ทัพ ทุกๆคนต่างประหลาดใจ 

 

หานซิ่นผู้ชำนาญในศิลปการสงคราม

ในการกลยุทธการทหาร “มากกว่าย่อมดีกว่า” (ตัวตัวอี่ส่าน,多多益善หานซิ่นเป็นนักกลยุทธการศึกที่ทิ้งกลยุทธการศึกต่างๆให้คนรุ่นหลังไว้ศึกษาอย่างมากมายในการทำสงครามแบบโบราณ อาทิเช่น

กลยุทธ “หมิงซิวจ้านเต้า” (明修栈道) คือ กลยุทธใช้สถานที่อันตรายซึ่งเต็มไปด้วยหินพรุนและเป็นหน้าผาสูงชันก่อสร้างด้วยโครงไม้ทำเป็นช่องทางเดินสำหรับเดินทัพ ขนส่งเสบียงอาหารและสัมภาระ และยังสามารถใช้เป็นคาราวานเดินทางและเคลื่อนที่เร็วของกองทัพ

 

กลยุทธ “อันตู้เฉินฉาง” (暗渡陈仓) คือ กลยุทธสร้างความสับสนให้ศัตรูที่อยู่ตรงหน้า โดยการโจมตีอย่างคิดไม่ถึงจากด้านข้าง เป็นต้น

ด้วยการเป็นนักยุทธศาสตร์การทหาร หานซิ่นเปรียบเสมือนซุนอูคนที่สอง จากคนสามัญกลายเป็นแม่ทัพที่โดดเด่น คุณลักษณะที่โดดเด่นของเขา คือการปรับใช้กลยุทธอย่างยืดหยุ่น เป็น นายพลที่มีความเชี่ยวชาญและความสามารถที่สุดในประวัติศาสตร์สงครามจีน การศึกที่จิ่นสิง (井陉) และการศึกที่แม่น้ำเวยสุ่ย (潍水) คือสงครามชั้นเอกอุในประวัติศาสตร์สงครามจีน เขาได้ให้ความเห็นบนกลยุทธพื้นฐานที่ควรจะเป็นกลายเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ในสงครามระหว่างฉู่และฮั่น ในฐานะผู้บัญชาการรบ ลูกน้องที่อยู่ภายใต้เขา และคนอีกเป็นหมื่นซึ่งอยู่เหนือเขา เขาช่วยเหลือกองทัพของฮั่นหวางหลิวปังออกจากเฉินฉาง (陈仓) สู่ซานฉิน (三秦) โรยตัวด้วยเคเบิลเอาชนะกองทัพฉู่ แล้วแบ่งทัพมุ่งสู่ทางเหนือ หนีรัฐเว่ย ทำลายรัฐไต้ เผารัฐจ้าว ตัดกำลังรัฐเยี๋ยนและรัฐฉี ในที่สุดเอาชนะทัพฉู่ที่กายเซี่ย (垓下) ไม่เคยรบแพ้ ไม่มีใครกล้าเอาชนะเขาได้ ในฐานะนักคิดการทหาร หานซิ่นและจางเหลียงปรับปรุงตำราการทหารและเขียนตำราพิชัยสงครามออกมาสามเล่ม

 

หานซิ่นเป็นชาวบ้านที่มีนิสัยเอาแต่ใจตนเองและไม่ยึดติดกับกฎเกณฑ์สังคม ไม่เคยรับเลือกให้ทำราชการ และไม่เคยทำการค้าใดๆ มักจะพึ่งพาคนอื่นให้หาเลี้ยงปากท้องให้ตน คนส่วนมากเกลียดเขา เมื่อแม่ของเขาเสียชีวิต เขาไม่มีเงินแม้กระทั่งจัดงานศพให้แม่ แต่เขาไปจับจองหาสุสานที่ทั้งสูงทั้งกว้างใหญ่ซึ่งรอบๆสุสานนี้สามารถเป็นสุสานฝังคนได้เป็นล้าน ในตอนนั้นการไปยังศาลหนานชาง (南昌亭) เพื่อพบปะหานซิ่นไม่ใช่เรื่องง่าย มีอยู่ครั้งหนึ่งหานซิ่นผิดหวังในภรรยาของเขา เธอไม่ยอมทำอาหารให้ทาน และพูดจาดูถูกถากถาง เขาจากไปด้วยความโกรธ เขามุ่งไปทางเหนือเพื่อตกปลากิน ตั้งใจไม่กลับบ้าน แต่ตกเท่าไหร่ก็ไม่ได้ปลา หิวจนท้องลาย พอดีมีกลุ่มแม่บ้านมาซักผ้าที่ริมน้ำ มีแม่เฒ่าคนหนึ่งเอาอาหารมาแบ่งปันให้เขากินครึ่งหนึ่งเพื่อประทังความหิว วันต่อมาหานซิ่นยังตกปลาแต่ก็ไม่ได้ปลา แม่เฒ่าก็แบ่งอาหารให้เขากินเป็นเวลากว่าสิบวัน ในวันสุดท้ายหานซิ่นรู้สึกตื้นตันใจกล่าวกับแม่เฒ่าว่า “แม่เฒ่า ถ้าอนาคตชตาชีวิตข้าเปลี่ยนเป็นดี ข้าจะกลับมาตอบแทนแม่เฒ่า” แม่เฒ่ากล่าวว่า “ฉันสงสารเธอซึ่งเป็นเด็กหนุ่มต้องมาหิวโหยอดอยาก แล้วเมื่อไหร่เธอจะกลับมาละ”หานซิ่นได้ยินแล้วละอายใจ ทิ้งเบ็ดตกปลาลุกขึ้นเดินจากไป

สิบปีต่อมาหานซิ่นได้เป็นแม่ทัพและมีตำแหน่งเป็นหวยอินโฮ้ว (淮阴侯)  เขากลับมาหวยอินทราบข่าวแม่เฒ่าเสียชีวิต หานซิ่นซึ่งตั้งค่ายอยู่นอกเมืองหวยอินสั่งให้ทหารหนึ่งแสนคนเข้าร่วมเดินขบวนเป็นเกียรติให้แก่งานศพแม่เฒ่า

ที่หวนอินมีหนุ่มอันธพาลเข้ามาหาเรื่องหานซิ่น เยาะเย้ยว่า “ตัวก็โต ดาบก็ดี แต่ขี้ขลาด” พร้อมทั้งตะโกนดูถูกถากถางในที่ชุมชนว่า “ถ้าเอ็งกล้าตาย แทงข้าเลย ถ้าเอ็งไม่กล้า มารอดหว่างขาข้า” ทั้งสองจ้องมองกันอยู่เป็นเวลานาน จากนั้นหานซิ่นค่อยๆก้มลงคลานรอดหว่างขาอันธพาลคนนั้น ผู้คนผ่านไปมาบนท้องถนนหัวเราะเยาะใส่หานซิ่น ต่างคิดว่าเขาเป็นคนขี้ขลาด

 

เป็นกบฎ

เฉินเซิน (陈胜)และ อู๋กว่าง (吴广) ลุกขึ้นก่อการกบฎ เซี่ยงเหลียง (项梁)ก็ยกทัพไปทางเหนือของหวยเหอ (淮河หานซิ่นในตอนนั้นสมัครและติดตามทัพไปกับเซี่ยงเหลียงเป็นทหารในกองทัพ ยังไม่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก หลังจากเซี่ยงเหลียงถูกฆ่าตายกองทัพทั้งหมดตกเป็นของเซี่ยงยวี่ เซี่ยงยวี่ให้หานซิ่นทำหน้าที่พยาบาลในกองทัพ หานซิ่นได้ให้คำแนะนำแก่เซี่ยงยวี่อยู่หลายๆครั้ง แต่เซี่ยงยวี่ไม่นำพาและรับฟัง หลังจากหลิวปังยกทัพมา หานซิ่นลาออกจากทัพฉู่ไปคารวะทัพฮั่นเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลคลังสินค้าและยังไม่มีใครรู้จัก ภายหลังหานซิ่นกระทำผิดข้อหากบฎกำลังรอถูกประหาร มีผู้เกี่ยวข้องในคดีนี้ถูกประหารสามสิบคน เมื่อคิวประหารมาถึงหานซิ่น หานซิ่นมองไปยัง ถังกง เซี่ยโฮวอิง กล่าวว่า “เมื่อไม่ต้องการสันติภาพบนโลก ทำไมต้องประหารนักรบอย่างข้า” เซี่ยโฮ้วอิงรู้สึกว่าคำพูดจากปากนี้ไม่ธรรมดา รู้สึกทหารคนนี้ก็ไม่ธรรมดา จึงปล่อยหานซิ่น หลังจากสนทนากับหานซิ่นเขารู้สึกชื่นชมในตัวหานซิ่น จึงแนะนำหานซิ่นให้กับฮั่นหวางหลิวปัง ฮั่นหวางให้หานซิ่นเป็นเจ้าพนักงานดูแลการปันส่วนผลผลิต แต่ยังไม่มีใครค้นพบความเก่งกาจในตัวหานซิ่น

 

มิตรภาพกับเซียวเหอ

หานซิ่นมักจะพูดคุยกับเซียวเหอ เซียวเหอรู้สึกประทับใจในตัวเขา หลิวปังเดินตามรอยเซี่ยงยวี่ตั้งตัวเองเป็นฮั่นหวาง ในความเป็นจริงถูกผลักดันจากฉางอัน (长安)เข้าไปสู่ฮั่นจง (汉中) และใช้ชื่อ ฮั่น นี้สถาปนาตัวเอง

เมื่อเดินทางมาถึงหนานเจิ้ง (南郑) มีแม่ทัพหลายสิบคนที่หลบหนีไป หานซิ่นประมาณว่าเซียวเหอและหลายคนที่ห้อมล้อมหลิวปังได้แนะนำเขาให้หลิวปังแล้วแต่หลิวปังไม่ใช้เขาเขาจึงหลบหนีไป เซียวเหอทราบข่าวหานซิ่นหนีไปไม่ทันรายงานให้หลิวปังทราบเรื่องรีบติดตามหาหานซิ่นในทันที ตามกฎอัยการศึกของกองทัพ “นายทัพต้องรายงานตัวกับฮั่นหวางหลิวปังก่อนทำการใดๆ” หลิวปังทราบข่าวโกรธเป็นอันมากเหมือนตัวเองกำลังขาดมือซ้ายและมือขวาไป วันสองวันต่อมาเซียวเหอเข้าไปเข้าพบหลิวปัง หลิวปังเห็นหน้าก็โมโห ตระโกนด่าเซียวเหอว่า ทำไมถึงหนีไป เซียวเหอตอบว่าตนเองไม่ได้หนี แต่ไปตามหาตัวหานซิ่น หลิวปังกลับด่าต่อ “มีนายทหารหนีทัพไปเป็นสิบๆคน เจ้าไม่ตามกลับมา แต่เจ้าเลือกที่จะตามตัวหานซิ่น เจ้าจะหลอกใคร” เซียวเหอใจเย็นตอบกลับว่า “มีนายทหารหนีทัพไปเป็นสิบๆคน เจ้าไม่ตามกลับมา แต่เจ้าเลือกที่จะตามตัวหานซิ่น เจ้าจะหลอกใคร” เซียวเหอตอบ “แม่ทัพทั่วไปหาได้ง่าย แต่จะหาคนที่เก่งกาจเหมือนหานซิ่นในโลกนี้หาตัวจับยาก สำหรับหานซิ่น แม่ทัพที่มีความสามารถพิเศษนี้ ถ้าท่านต้องการจะเป็นฮั่นจงหวางตลอดชีวิต ท่านต้องใช้เขาทำการใหญ่ ถ้าจะยึดครองโลกจะขาดหานซิ่นไม่ได้ ท่านฮั่นจงหวางจงฟังเอาไว้” หลิวปังกล่าวว่าเขาต้องการขยายอาณาเขตไปสู่ทิศตะวันออก ไม่ใช่ปกครองเพียงฮั่นจง เพื่อยึดครองประเทศ เซียวเหอ กล่าวว่า “ความปรารถนาของท่านที่จะมุ่งสู่ตะวันออก ยิ่งจำเป็นต้องใช้หานซิ่น ถ้าท่านไม่ใช้เขาเขาก็จะผละหนีจากไป” หลิวปังมองเห็นความรู้สึกบนใบหน้าของเซียวเหอจึงตอบตกลงให้หานซิ่นเป็นนายทหาร แต่เซียวเหอยังยืนยันให้หลิวปังพิจารณาใช้หานซิ่นทำการใหญ่กว่านี้ หลิวปังจึงตอบตกลงให้หานซิ่นเป็นแม่ทัพใหญ่ จากนั้นหลิวปังจึงคิดจะเรียกหานซิ่นเข้ามารับตำแหน่งใหม่ในวันนั้น เซียวเหอ จึงกล่าว “ท่านมักเป็นคนที่หยาบคายและอวดดี วันนี้ต้องขอบคุณท่านที่รับฟังคำของผู้น้อยอย่างข้า นี่คือเหตุผลที่หานซิ่นต้องการลาออก ถ้าท่านต้องการแต่งตั้งหานซิ่นเป็นแม่ทัพนายพลท่านควรหาฤกษ์ยามที่ดี อดอาหาร บวงสรวงเทวดาและทำพิธีเฉลิมฉลองให้ถูกต้อง” หลิวปังตอบตกลงคำขอของเซียวเหอ

แม่ทัพนายกองทั้งหลายทราบข่าวว่าหลิวปังจะจัดพิธีแต่งตั้งและเฉลิมฉลองนายพลต่างดีใจ ต่างคนต่างคิดว่าตนเองจะได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่ทัพใหญ่ จนถึงวันกระทำพิธีกลับเป็นแต่งตั้งหานซิ่นเป็นแม่ทัพใหญ่ ทุกๆคนต่างก็ประหลาดใจ

 

หลังแต่งตั้งแม่ทัพใหญ่

หลังจากแต่งตั้งหานซิ่นเป็นแม่ทัพใหญ่ หลิวปังถามหานซิ่นว่ามีแผนการจัดเตรียมในการสร้างชาติอย่างไร หานซิ่น ตอบ “การที่ท่านมุ่งสู่ตะวันออกเพื่อกำจัดเซี่ยงยวี่ใช่หรือไม่ งั้นท่านต้องคำนวณให้ดี พิจารณากำลัง ประสิทธิภาพ ความสามารถของทหารของเรา เซี่ยงยวี่มีความสามารถเหนือผู้ใด” หลิวปังได้ฟังก็เงียบไปรู้ตัวว่าไม่สามารถเทียบเซี่ยงยวี่ได้ หานซิ่นทำความเคารพหลิวปังกล่าวเสนอความเห็นว่า “ไม่ใช่แต่ท่าน แม้แต่ข้าก็ทราบว่า ท่านเทียบกับเขาไม่ได้ แต่ข้าเคยทำงานรับใช้เซี่ยงยวี่ ให้ข้าวิเคราะห์เซี่ยงยวี่ในฐานะบุคคล เซี่ยงยวี่พูดเสียงคำรามเหมือนฟ้าผ่า ใครๆได้ยินเสียงก็เกรงกลัวขาสั่น แต่เขาเป็นคนที่ไม่รู้จักปล่อยวางใช้แม่ทัพนายกองทำการแทนเขา เป็นคนที่ทำการเก่งแต่คนเดียว (ผีฟู่จือย่ง, 匹夫之勇เซี่ยงยวี่เป็นคนที่ศรัทธาในความรัก พูดจาอ่อนโยน เป็นคนขี้เห็นอกเห็นใจคนอื่นและน้ำตาไหลง่ายๆ ชอบแบ่งปันอาหารตนเองให้ผู้อื่น แต่เมื่อเขาอยู่ในตำแหน่งของผู้นำทัพ เขาปกครองคนด้วยความอ่อนไหวและลังเลใจกับคนอื่นๆซึ่งนี่เป็นนิสัยอ่อนโยนตามธรรมชาติของผู้หญิง แม้ว่าเซี่ยงยวี่จะครองโลกในตอนนี้และแต่งตั้งตนเองเป็นใหญ่ แต่ไม่ใช่ที่กวนจง (关中) และ เผิงเฉิน (彭城) ทั้งยังทำการขัดกับข้อตกลงที่บัญชาโดยกษัตริย์อันชอบธรรมฉู่ห่วยหวาง (楚怀王)ยึดถือความเห็นของคนสนิทและคนที่รักชอบเขาตั้งตนเองเป็นกษัตริย์ เป็นการสร้างความโกรธเกลียดไม่ใช่ความยอมตาม เจ้าชายของราชวงศ์ก่อนเห็นเซี่ยงยวี่เนรเทศกษัตริย์อันชอบธรมไปเจียงหนาน (江南) ทั้งยังกลับไปขับไล่พวกเขาเจ้านายและเจ้าชายราชวงศ์ก่อนและสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นกษัตริย์ ตลอดทางที่กองทัพเซี่ยงยวี่ยกเข้าไปในดินแดนเหล่านี้เข้าไปทำลายปล้นสะดมภ์ข่มขืนประชาชน ดังนั้นคนทั่วโลกจีงเกลียดเขา ประชาชนภายใต้อำนาจของเขาต่างยอมแพ้โดยไม่ยินยอมพร้อมใจ ถึงแม้ตอนนี้เขาจะได้ชื่อว่าเป็นผู้นำของโลก แต่ประชาชนสูญเสียเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นความเข้มแข็งของเขาจะกลับเปลี่ยนเป็นความอ่อนแอในไม่ช้านี้ ตอนนี้ท่านตรงเดินหมากทำทุกอย่างตรงข้ามกับที่เขาทำ จัดเตรียมกองทัพให้พร้อม ทำไมจะต้องกังวลว่าสู้ศัตรูไม่ได้ นำแผ่นดินมาแบ่งปันให้กับผู้ประกอบความดีความชอบ หรือกังวลว่าไม่มีใครมาร่วมช่วยเหลือท่าน ท่านต้องนำทหารที่กล้าหาญเข้าปราบศัตรูด้วยใจที่พวกเขาจะได้กลับบ้าน ทำไมกังวลว่า ข้าศึกจะแพร่กระจาย นอกจากนี้กองทัพฉินทั้งสามของ จางหาน (章邯) ต่งอี่ (董翳) ซือหม่าฉิน (司马欣) ซึ่งภักดีต่อรัฐฉินเป็นเวลายาวนานหลายปีถูกฆ่าตายและหลบหนีไปเป็นจำนวนเหลือที่จะคณานับ ทั้งพวกเจ้าหน้าที่และนายทหารที่ถูกหลอกลวงให้ยอมจำนนแก่เซี่ยงยวี่ เมื่อมาถึงซินอัน (新安) เซี่ยงยวี่ ใช้วิธีหลอกให้คนเหล่านั้นขุดหลุมและกลบฝังคนเหล่านั้นตายทั้งเป็นเป็นจำนวนมากกว่าสองแสนคน ทั้งจางหาน ต่งอี่ และซือหม่าฉินต่างเกลียดกองทัพฉู่จนเข้ากระดูกดำ ตอนนี้เซี่ยงยวี่ควบคุมทั้งสามคนนี้ไว้เพื่อตนเองจะขึ้นเป็นกษัตริย์ ประชาชนรัฐฉินไม่มีใครสนับสนุนพวกมัน เมื่อท่านยกทัพถึงอู๋กวน (武关) ต้องเข้มงวดกับกองทัพและมีใจเป็นธรรม ล้มล้างกฎหมายฉินที่ลงโทษรุนแรง ออกกฎหมายใหม่บังคับใช้กับชาวฉิน ประชาชนชาวฉินก็จะไม่มีใครไม่คิดสนับสนุนท่านเป็นกษัตริย์แห่งกวนจง (关中) ตามบัญชาของฉู่ห่วยหวางกษัตริย์องค์ก่อน ใครที่เป็นกษัตริย์ต้องเป็นกษัตริย์ ณ.ที่กวนจง ประชาชนที่กวนจงทุกคนต่างรู้กันดี ตอนนี้ท่านยกทัพมุ่งสู่ตะวันออก โจมตีดินแดนสามแห่งในรัฐฉินตราบใดที่มีเสียงเรียกหาให้ช่วย

หลิวปังรับฟังอย่างมีความสุขรำพึงกับตนเองว่าเรียกใช้หานซิ่นช้าไปหน่อย แล้วปฎิบัติตามคำแนะนำของหานซิ่น เตรียมพร้อมทั้งหมดเพื่อจะปรับใช้ ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับหานซิ่นในครั้งนี้แท้จริง คือสูตรกลยุทธที่สร้างขึ้นให้หลิวปังในการพิชิตตะวันออกเพื่อยึดครองประเทศ

 

เริ่มแสดงพรสวรรค์ในการทำสงคราม

เดือนพฤศจิกายน ปีแรกแห่งราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เพื่อสกัดทัพฮั่นของหลิวปัง เซี่ยงยวี่ยกทัพสู่กงฉี (攻齐,ปัจจุบันคือดินแดนในเขตซานตง)ซึ่งเป็นทุ่งราบ มุ่งสู่หนานเจิ้ง (南郑 หรืออีกชื่อว่า ฮั่นโตว汉都 ปัจจุบัน คือ เมืองฮั่นจง汉中ทิศตะวันออกของมณฑลส่านซี) โจมตีโดยไม่มีการระวังตัวเข้ายึดครองกวนจง (ด่านหานกู่กวาน函谷关ทางสู่ทิศตะวันตก) เซี่ยงยวี่จากฝากตะวันออกทำสงครามเพื่อยึดครองประเทศ สงครามฉู่ฮั่นจึงอุบัติขึ้น หลิวปังมอบหมายให้หานซิ่นเป็นแม่ทัพใหญ่ ตั้งทัพที่เฉาชาน (曹参) ฟ่านไขว้ (樊哙) เป็นทัพหน้า ใช้การเดินทัพบนถนนสะพานไม้ผ่านเทือกเขาฉินหลิง (秦岭,ดินแดนเหล่านี้ปัจจุบันอยู่ในรอยต่อระหว่างมณฑลเสฉวน ส่านซี กานซูและยูนนานโดยการสร้างสะพานถนนไม้เลียบหน้าผาสูงชัน เป็นทางคมนาคมเส้นเลือดหลักที่สำคัญทางทิศตะวันตกฉียงใต้ของประเทศจีน ถูกเผาและทำลายโดยกองทัพฮั่นในเวลาต่อมา) สมัยรัฐฉินฉินหวางทั้งสาม(จางหาน ต่งอี และซือหม่าฉิน)ไม่ได้ใส่ใจกับเส้นทางนี้ จึงต้องมีการซ่อมแซมเส้นทาง ต่อเส้นทางไปถึงเฉินชาง (陈仓) ฟ่านไขว้มอบหมายให้นายทัพโจวป๋อ (周勃)นำทัพหมื่นคนไปซ่อมถนนสะพานไม้สายนี้ตามหุบเขา เพื่อหลบเลี่ยงดึงดูดความสนใจจากฉินหวางทั้งสาม ฟ่านไขว้นำทหารซึ่งซ่อนตัวออกมาสู่ภายนอกตามเส้นทางนี้ข้ามเขาฉินหลิงเข้าโจมตีเฉินชาง (ทัพเซี่ยงยวี่ซึ่งยึดครองดินแดนฉินหวางจางหานจางหานจากเฟ่ยซิว (废丘 หรือ ย้งโตว雍都 ปัจจุบัน คือเมืองซิงผิง兴平ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลส่านซี) ยกทัพออกมากู้เมืองเฉินชาง ตีทัพฮั่นแพ้หนีไปที่เฟ่ยซิว ฮาวจึ (好峙 ปัจจุบันคือ กานเสี้ยน乾县ทางทิศตะวันออกมณฑ,ส่านซี) กองทัพฮั่นอีกทัพกลับไล่ตามไปที่หล่านตง (壤东,ปัจจุบันคือ อู๋กง 武功 ทิศตะวันออกเฉียงใต้มณฑลส่านซี) ดินแดนสองแห่งในฮาวจึเสียให้แก่ทัพย่ง ทัพของจางหานถูกสกัดอยู่ที่เฟ่ยซิว การต่อสู้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทัพฮั่นแบ่งกำลังเข้ารบ เข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของกวนจงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งผิงติ้ง (平定) ดินแดนของฉินหวางทั้งสามซึ่งทัพฉู่เคยเอาชนะทัพฮั่นและยึดครองในครั้งแรก

ในสองปี (205 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ฮั่นหวางและกองทัพฮั่นยกออกจากกวนจง ได้รับการสนับสนุนจากเว่ยหวางเป่า (魏王豹) เหอหนานหวางเสินหยาง (河南王申阳) และหานหวางเจิ้นชาง (韩王郑昌) มีชัยชนะต่อหยินหวางซือหม่าอัน (殷王司马卬) ร่วมกับฉีหวางเถียนหรง (齐王田荣) และจ้าวหวางเสว่ (赵王歇)โจมตีทัพฉู่ เดือนเมษายนตีได้เผิงเฉิง ทัพฮั่นมีชัยชนะที่ยิ่งใหญ่และอย่างต่อเนื่อง หานซิ่นกู้คืนกองทัพที่พ่ายแพ้และนัดพบประชุมการศึกกับฮั่นหวางหลิวปังที่หยินหยาง (荥阳) สกัดกั้นการไล่ล่าโจมตีของทัพฉู่ ประสบชัยชนะที่ยิ่งใหญ่เหนือทัพฉู่ที่เป่ยจิง บนเส้นด้ายนี้ทัพฮั่นชุมนุมพลเพื่อเดินหน้าต่อไป

 

ชัยชนะที่เผิงเฉิน

ในขณะที่ฮั่นหวางมีชัยชนะที่เผิงเฉิน ซ่ายหวางซือหม่าฉินและตี๋หวางต่งอีต่อต้านสงครามฉู่ฮั่น ฉีหวางเถียนหรงและจ้าวหวางเสว่ปฎิเสธไม่ร่วมกับทัพฉู่

เดือนมิถุนายนเว่ยหวางเป่าทราบข่าวมารดาป่วยยกทัพกลับไปยังดินแดนตน จากนั้นสั่งปิดแม่น้ำและทางน้ำ ตัดหนทางล่าถอยของทัพฮั่น ต่อต้านสงครามระหว่างฮั่นและฉู่ ฮั่นหวางส่งหลี่เซิน (郦生)ไปเจรจากับเว่ยหวางเป่าไม่ได้ผล เดือนสิงหาคมจึงสั่งให้หานซิ่นเข้าโจมตีเว่ย เว่ยหวางนำทัพไปตั้งรับที่ผูป่าน (蒲坂) เพื่อปิดกั้นด่านทางน้ำ (ด่านตู้โขว่หลิงจิ้นกวาน渡口临晋关บนแม่น้ำหวงเหอ黄河หรือแม่น้ำเหลือง ปัจจุบันมีชื่อว่า ด่านผูจวินกวาน蒲津关) หานซิ่นจงใจจัดตั้งทหารเรือจำนวนมาก แสดงเรือให้เห็นหลอกว่าจะใช้เรือข้ามแม่น้ำ จากนั้นซุ่มทหารไว้ที่เซี่ยหยาง (夏阳)จนถึงมู่เผิน (木盆) ออกคำสั่งให้เรือข้ามแม่น้ำเข้าโจมตีเว่ยตู้อันปา (魏都安邑) เว่ยหวางเป่าตกใจนำทัพออกต้านทัพฮั่น หานซิ่นมีชัยจับเว่ยหวงเป่าเป็นเชลยได้ เมืองผิงติ้งในครอบครองของรัฐเว่ยเปลี่ยนชื่อเป็น เหอตงจวิ้น (河东郡)

หลิวปังนำหานซิ่นมุ่งสู่เหนือปราบรัฐเยี๋ยน รัฐจ้าว ตะวันออกปราบรัฐฉี  ตัดเสบียงและการขนส่งของรัฐฉู่ทางใต้ ตะวันตกขยายดินแดนฮั่นถึงหยินหยาง (荥阳) ในการดำเนินยุทธการเพื่อโอบล้อมทัพฉู่ เปิดการต่อต้านทัพฉู่ซึ่งเผชิญหน้ากันในตอนนี้ หลิวปังให้ทหารแก่หานซิ่นสามหมื่นคนยกทัพไปทางทิศตะวันออกเปิดยุทธการการรบในภาคเหนือ ฮั่นหวางส่งจางเอ๋อร์ (张耳) กับหานซิ่นร่วมกันนำกองทัพมุ่งทิศตะวันออกเข้าตีจางหวางเสว่ ทิศเหนือตีไต้หวางเฉินยวี (代王陈余) จับเป็นไต้เซียงเซี่ยซัว (代相夏说) ทำลายรัฐไต้ การจับทหารเชลยเป็นจำนวนมากช่วยเสริมทัพให้กับหลิวปังในการทำศึกกับรัฐฉู่ที่หยินหยาง เป็นกองหนุนในการต่อสู้ในสนามรบแบบเผชิญหน้า

หานซิ่นและจางเอ๋อร์ยกทัพหลายหมื่นผ่านภูเขาไท่หางซัน (太行山)ด้านจิ่นซินโขว่ (井陉口)เข้าตีรัฐจ้าว จ้าวหวางและเฉินอันจวิน(成安君) เฉินยวี (陈余) เฉินปิง (陈兵)นำทัพสองแสนคนรออยู่ที่จิ่นซันโขว่ต่อต้านกองทัพฮั่น กว่างอู๋จวินหลีจั่วเชอ (广武君李左车) พูดกับเฉินอันจวิน ว่า“หานซิ่นข้ามแม่น้ำทางตะวันตก จับตัวเว่ยหวางที่ฉินเซี่ย (擒夏)กล่าวว่า เป็นการปิดการนองลือด ตอนนี้มีจางเอ๋อร์มาด้วยเพื่อจะเอาชนะรัฐจ้าว พวกเราจะรับมือไหวหรือ แต่ข้าได้ยินมาว่า ในการส่งเสบียงเป็นพันๆไมล์ ต้องมีความเสี่ยงต่อทหารที่อาจจะอดอยาก ถึงเวลากินข้าวถึงจะสามารถก่อไฟทำกับข้าว ทหารเหล่านี้กินข้าวกันไม่อิ่ม ที่จิ่นซินโขว่นี้ รถไม่สามารถวิ่งคู่ขนานกันได้ ทหารม้าไม่สามารถขับม้าเรียงหน้ากระดาน การเดินทัพเป็นร้อยๆไมล์ เสบียงอาหารจะถูกทอดทิ้งให้อยู่เบื้องหลัง ข้าหวังว่าท่านจะมอบหมายทหารม้าให้ข้าสามหมื่นเพื่อเดินสู่ทางลัดตัดเสบียงของกองทัพฮั่น ท่านจงขุดสนามเพลาะให้ลึก ตั้งค่ายให้มั่นคง เสริมกำแพงค่ายให้สูงเป็นพิเศษ กองทัพหน้าฮั่นจะทำการรบก็ไม่ได้ จะถอยทัพกลับก็ไม่ได้ กองทัพข้าจะคอยตีสกัดทัพฮั่นอยู่ด้านหลัง ความวุ่นวายในทัพฮั่นก็จะเกิดขึ้นเนื่องจากขาดอาหาร ไม่เกินสิบวัน ศีรษะของหานซิ่นและจางเอ๋อร์ก็จะมาแขวนบนธงของท่าน หวังว่าท่านคงพิจารณาแผนของข้า หรือไม่ก็ให้พวกมันจับตัวไป”

เฉินอันจวินนั้นเป็นหนอนหนังสือ เห็นว่าการสู้รบด้วยความยุติธรรมต้องไม่ใช้เล่ห์กล จึงไม่เห็นด้วยตอบไปว่า “ศิลปการทำศึก ทหารเราเป็นสิบเท่าล้อมทหารข้าศึก หนึ่งเท่าของทหารข้าศึกจะต่อสู้อะไรกับเราได้” หลี่จั่วเชอ กล่าว “ถึงแม้หานซิ่นจะยกทัพมาเป็นหมื่นๆคน แต่ทหารเป็นหมื่นที่ยกทัพมาตลอดทางเพื่อโจมตีเราตอนนี้เหนื่อยล้าเต็มที่แล้ว ตอนนี้เราตั้งมั่นไม่เข้าโจมตี ถ้าทัพข้าศึกยกกำลังเพิ่มมาอีก เราจะจัดการกับข้าศึกอย่างไร ท่านจะต้องคิดว่า พวกข้าเป็นคนขี้ขลาด ข้าศึกสามารถเอาชนะพวกข้าได้อย่างง่ายดาย” ในที่สุดเฉินอันจวินไม่รับฟังข้อเสนอของ กว่างอู๋จวินหลี่จั่วเชอ

 

กว่างอู๋จวินหลบหนี

หานซิ่นส่งคนไปดูลาดเลาได้ยินว่าแผนการของหลี่จั่วเชอไม่ได้ถูกนำมาใช้มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง นำทหารกล้ามุ่งหน้าออกห่างจากจิ่นซินโขว่สามสิบไมล์แล้วตั้งค่าย เที่ยงคืนนั้นทหารม้าสองพันนายล่วงหน้ามาก่อน ทหารทั้งหมดถือธงแดง อำพรางและปกปิดการเดินทางจากทางลัดสู่ทางเลียบเขา ส่งคนไปลอบดูจ้าวจวิน (赵军) แล้วเตือนให้ทหารระมัดระวัง หานซิ่นจึงกล่าว หากจ้าวจวินเห็นกองจู่โจมของพวกเรา จ้าวจวินจะต้องเข้าสกัดผลักดันทัพเราอย่างเข้มแข็งเต็มที่ พวกท่านรีบรุกเข้าไปที่ค่ายของจ้าวจวิน รื้อถอนธงรัฐจ้าวทิ้ง แล้วปักธงแดงของรัฐฮั่น จากนั้นหานซิ่นออกคำสั่งให้แก่ทุกคน “วันนี้หลังจากเอาชนะจ้าวจวินแล้ว พวกเราค่อยกินข้าว” นายทหารฮั่นทั้งหมดต่างไม่เชื่อแต่ต้องแกล้งทำตามคำสั่ง หานซิ่นยังเรียกแม่ทัพนายกองมาวิเคราะห์การศึก ค่ายจ้าวจวินเป็นทำเลที่ดีในการยึดครองเป็นแห่งแรก เมื่อก่อนพวกเขาไม่เคยเห็นแม่ทัพใหญ่ทัพฮั่น คงกังวลว่าเมื่อพวกเราเจอการต่อต้านจะถอยทัพจึงไม่อยากส่งกองทัพเข้าโจมตีพวกเรา ดังนั้นหานซิ่นจัดเตรียมทหารหนึ่งหมื่นคนเป็นกองหน้าตั้งทัพเรียงรายโดยมีแม่น้ำอิงอยู่ด้านหลัง ทัพจ้าวจวินเห็นกองทัพฮั่นจัดวางทหารแบบจู่โจมไปข้างหน้าโดยไม่คิดถอยหลังต่างหัวเราะเยาะเย้ย เมื่อพระอาทิตย์กำลังตกดินหานซิ่น ในฐานะแม่ทัพใหญ่ลั่นกลองรบและยกทัพเข้าตีจิ่นซินโขว่ จ้าวจวินยกทัพออกจากค่ายเข้าสกัด สู้รบกันเป็นเวลานาน หานซิ่นและจางเอ๋อร์ต่างทิ้งธงกองทัพแกล้งทำเป็นรบแพ้ถอยมายังแนวแม่น้ำที่กองทัพจัดแถว จ้าวจวินมองเห็น และขับดันทัพหน้าอย่างเต็มที่เพื่อไล่ตามหานซิ่นและจางเอ๋อร์ ติดตามทหารฮั่นที่ทิ้งกลองและธงรบ หานซิ่น และจางเอ๋อร์ถอนทหารจากริมแม่น้ำ สั่งทหารเรือเข้ารบกับจ้าวจวิน การต่อสู้ถึงขั้นแตกหัก จ้าวจวินไม่สามารถตีทัพฮั่นแตกได้ หานซิ่นออกคำสั่งให้ทหารม้าสองพันนายเตรียมพร้อม รอจ้าวจวินนำทหารเข้าไล่ตามทัพฮั่นอย่างเต็มที่จนทหารเบียดเสียดต่างแย่งชิงทรัพย์สมบัติของทหารฮั่นที่ทิ้งไว้ สั่งทัพม้าบุกเข้าไปในป้อมค่ายของจ้าวจวิน รื้อถอนธงรบของจ้าวจวินแล้วชักธงแดงของรัฐฮั่นขึ้นสองพันธง จ้าวจวินรบเท่าไหร่ก็ไม่ชนะ อยากถอยทัพกลับเข้าค่าย แต่เมื่อเห็นทั้งค่ายเต็มไปด้วยธงของรัฐฮั่นตกใจหน้าเปลี่ยนสี คิดว่าทัพฮั่นจับตัวจ้าวหวางและนายทหารคนอื่นๆของรัฐจ้าวได้หมดแล้ว ตอนนี้ในสนามรบก็วุ่นวายสับสน จึงกระจายตัวออกมาแล้วหนีไป ถึงแม้ว่าจะตัดกำลังทหารของแคว้นจ้าวลงได้อย่างมาก ทั้งพยายามที่จะไม่ให้สูญเสียไปมากกว่านี้ แต่ไม่เป็นผล เมื่อทัพฮั่นเข้าโจมตีทั้งสองด้านตีทัพจ้าวจวินแตก ณ.ที่ติงสุ่ย (泜水,ปัจจุบันคือ แม่น้ำเว่ยเหอ魏河มณฑลเหอเป่ย)จับเฉินอันจวินประหารชีวิต และจับเป็นจ้าวหวางเสว่

หานซิ่นออกคำสั่งห้ามใครฆ่าหลี่จั่วเชอเพื่อนำตัวมาใช้ประโยชน์ในภายหลัง ไม่นานก็จับกว่างอู๋จวินหลี่จั่วเชอได้ หานซิ่นเป็นคนรู้จักธรรมเนียมเชิญหลี่จั่วเชอนั่งทางด้านขวาของตนและทำความเคารพ ชัยชนะยิ่งใหญ่ของหานซิ่นทหารฮั่นทุกคนต่างดีใจ ถามว่า “ในศิลปของการทำสงคราม การจัดแถวทหารด้านหลังต้องอิงภูเขา ทางซ้ายคือ ทำเลที่เป็นแอ่งน้ำ แต่วันนี้ท่านแม่ทัพจัดทัพหลังอิงแม่น้ำ แล้วยังสั่งพวกเราเสร็จศึกตีทัพจ้าวได้ค่อยกินข้าวเย็นกัน ตอนนั้นพวกเราไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ดีพวกเราก็ชนะศึก นี่มันคือ กลศึกอะไร” หานซิ่นตอบ “กลยุทธนี้อยู่ในศิลปแห่งสงคราม มีชื่อว่า “กู้จูจวินฝู๋ฉาเอ๋อร์” (顾诸君弗察耳) ในสงครามไม่ได้บอกว่า การตกต่ำสามารถฟื้นคืนชีพได้ ถลำลงในความตายจากนั้นรักษาขึ้นมาใหม่หรอกหรือ และคำสั่งที่สั่งออกไปนั้นเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ทุกคนสู้ตาย เป็นศักยภาพที่ใช้ในการต่อสู้ในทำเลที่เป็นกับดักแห่งความตาย ทุกๆคนทำเพื่อสงครามครั้งนี้ แผนนี้เพื่อทำเลการศึกนี้ ต่อไปภายภาคหน้าอาจจะใช้อีก” แม่ทัพนายกองได้ยินต่างคนต่างมีความคิดแปลกๆหลังจากเคยทำสงครามกันมา ต่างยกย่องชื่นชมห่านซิ่นในการประยุกต์ใช้ศิลปแห่งสงคราม

แผนของกว่างอู๋จวินหลี่จั่วเชอ

จากนั้นหานซิ่นถามหลี่จั่วเชอเกี่ยวกับกงเยี้ยน(攻燕,เยี้ยนหวางจางถู燕王臧荼 และโตวจี้ 都蓟 ปัจจุบัน คือ นครเป่ยจิง) และข้อมูลของรัฐฉี หลี่จั่วเชอ ปฎิเสธที่จะพูด เพียงกล่าวว่า “ข้าเพียงได้ยินมา” หลี่จั่วเชอ กล่าวต่อ“ป้ายจวินจือเจี้ยงปู่เคิ่นเหยียนหย่ง หวางกั๊วจือเฉินปู้ก่านหยีเจิ้ง” (败军之将不可言勇, 亡国之臣不敢语政หมายถึง แม่ทัพที่แพ้สงครามไม่ถือว่าเป็นผู้กล้าหาญ ข้าราชการของประเทศที่ถูกปราบไม่ควรพูดการเมือง) ตอนนี้ข้าเป็นแม่ทัพที่แพ้สงคราม เป็นเชลยของรัฐที่ถูกปราบ แล้วไฉนข้าจะมีศักดิ์ศรีมาแนะนำท่านเรื่องกิจการของรัฐอื่น”

หานซิ่น กล่าวตอบ “ข้าได้ยินมาว่า ป่ายหลี่สี (百里奚) อยู่ในรัฐหยี (虞国) ตอนนั้น รัฐหยีถูกทำลาย เมื่อมาอยู่รัฐฉินกลับเป็นผู้โดดเด่น นั่นไม่ใช่เป็นเพราะว่า เขาโง่เมื่ออยู่กับรัฐหยี และฉลาดเมื่ออยู่รัฐฉิน แต่อยู่ที่กษัตริย์องค์ไหนใช้เขาทำการใหญ่ และนำคำแนะนำของเขาไปปรับใช้ ถ้าเฉินอันจวินรับฟังแผนของท่านตอนนี้ข้าหานซิ่นคงตกเป็นนักโทษของท่านแล้ว ข้ามีความจริงใจรับฟังคำแนะนำจากท่าน ขอท่านจงอย่าปฎิเสธเลย” หลี่จั่วเชอ กล่าวว่า “ข้าได้ยินมาว่า จือเจ่อเชียนลี่ ปี้โหย่วอี่ซือ หยีเจ่อเชียนลี่ ปี้โหย่วอี่เต๋อ(智者千虑,必有一失;愚者千虑,必有一得หมายถึง ความกังวลพันอย่างในคนฉลาด เมื่อไหร่จะล้มเหลว ความกังวลพันอย่างของคนโง่ เมื่อไหร่จะมีโอกาส) ดังนั้นถึงจะเป็นคำพูดของนักโทษอย่างข้า คนฉลาดอย่างท่านควรที่จะเลือกไปปรับใช้ แต่ข้ากลัวว่า ถ้าข้าบอกแผนทั้งหมดให้แก่ท่านมันจะไม่คุ้มค่าในการใช้ แต่ข้าก็ยินดีที่จะเสนอความเห็นอันต่ำต้อยของข้าให้แก่ท่าน เฉินอันจวินถึงแม้จะมีแผนการมากมายในการรบ แต่การคำนวณผิดพลาดครั้งเดียว กองทัพพ่ายแพ้สงคราม ตัวเองต้องตายที่ติงสุ่ย ตอนนี้ท่านรุกไปทางซีเหอ (西河) ตะบบเว่ยหวางเป่ายึดดินแดนเป็นของตน ตีได้จิ่นซินโขว่ ยังไม่ถึงครึ่งเช้าท่านก็ปราบทัพจ้าวทั้งสองหมื่นคนลง ประหารชีวิตเฉินอันจวินชื่อเสียงท่านขจรไกลและสร้างความกลัวเกรงไปทั่วประเทศ ท่านต้องให้คนของท่านได้วางเครื่องมือพักผ่อน พักงานบ้าง กินดี มีเสื้อผ้าสวมใส่ที่ดี มีความเชื่อมั่นในการรับฟังคำสั่งการเคลื่อนทัพของท่าน นี่จะกลายเป็นจุดแข็ง ถ้าทหารท่านเหน็ดเหนื่อยในสถานการณ์ปัจจุบันยากที่จะใช้สอยพวกเขา ตอนนี้ท่านต้องออกคำสั่งให้ทหารทุกคนได้พักจากความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ตั้งหลักพักอยู่ในเมืองของรัฐเยี้ยน ถ้าท่านต้องการจะรบข้าเกรงกลัวว่าทหารจะไม่แข็งแกร่ง พลังวังชาจะหมดเร็วและไม่อาจเอาชัยชนะได้ ความจริงมันปรากฎอยู่ว่ารัฐเยี้ยนแม้อ่อนแอแต่ก็ไม่ยอมแพ้ รัฐฉีคงจะเสริมกำลังตามชายแดน รัฐเยี้ยนและรัฐฉีถ้ายังปักหลักในแดนไม่ยอมจำนน ดังนั้นสงครามระหว่างหลิวปังและเซี่ยงยวี่ยังดูไม่ออกใครเป็นผู้ชนะ นี่คือจุดอ่อนของท่าน ข้าคิดว่าการมุ่งเหนือเอาชนะรัฐเยี้ยน และมุ่งตะวันออกปราบรัฐฉี เป็นแผนการที่ผิดพลาด โดยทั่วไปการใช้ทหารที่ดีคือการใช้ทหารทำศึกในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ท่านไม่ควรเคลื่อนทัพในเวลานี้และรอ ให้ทหารพักผ่อนให้มากที่สุด สร้างความสงบมั่นคงให้รัฐจ้าว ตอบแทนทหารที่บาดเจ็บ และให้รางวัลดื่มฉลองให้กับนายทหารทั้งหลาย ไม่ควรจะโจมตีรัฐเยี้ยนในเวลานี้ แล้วส่งนักเจรจาไปเจรจาต่อรองกับรัฐเยี้ยนให้ผลประโยชน์กับรัฐเยี้ยนเหมือนที่รัฐเยี้ยนเคยมีมาในอดีต รัฐเยี้ยนคงไม่กล้าที่จะไม่ฟังข้อเสนอของท่าน หลังจากรัฐเยี้ยนยอมจำนนรับข้อเสนอแล้ว ท่านควรจะส่งนักเจรจาร่วมกับนักปราชญ์ของรัฐเยี้ยน ฮั่นซัวฉี (汉说齐)ไปรัฐฉี รัฐฉีคงรับข้อเสนอตามกระแส ถึงแม้ว่าคนที่ฉลาดที่สุดก็ยังไม่รู้ว่าจะวางหมากให้รัฐฉีเดินอย่างไร ถ้าเป็นแบบนี้ การทำการใหญ่ของท่านก็จะง่ายดายขึ้น วิธีการใช้ทหาร เดิมทีก็ใช้ชื่อแม่ทัพไปขู่ก่อนจากนั้นค่อยใช้กลยุทธ์พิชัยสงครามไปปฎิบัติตามความเป็นจริง”

หานซิ่นรับฟังแผนการของหลี่จั่วเชอ ส่งคนเดินสารไปรัฐเยี้ยนทันที รัฐเยี้ยนเมื่อได้รับฟังข้อเสนอยอมจำนนต่อหานซิ่นทันที หานซิ่นเสนอแต่งตั้งจางเอ๋อร์เป็นจ้าวหวางปกครองรัฐจ้าว หลิวปังเห็นด้วยและประกาศแต่งตั้งจางเอ๋อร์เป็นจ้าวหวางอย่างเป็นทางการ

ในช่วงเวลานั้นทัพฉู่ได้ยกทัพข้ามแม่น้ำหวงเหอ (黄河)หลายครั้งเพื่อโจมตีรัฐจ้าว จ้าวหวางจางเอ๋อร์และหานซิ่นช่วยกันปกป้อง ยกทัพมาป้องกันเมืองต่างๆในรัฐจ้าวทั้งยังยกทัพมาช่วยหลิวปัง ตอนนั้นทัพฉู่กำลังล้อมทัพหลิวปังอยู่ที่หยินหยาง (荥阳) หลิวปังหนีไปที่หวาน (宛) เย่เจียน (叶间) และถูกบังคับบีบหนีไปที่ เฉินกาว (成皋) ทัพฉู่ตามติดกระชั้นชิดไปล้อมเฉินกาว ปีที่สามแห่งราชวงศ์ฮั่นเดือนมิถุนายน ฮั่นหวาง ออกจากเฉินกาวสู่ทิศตะวันออกเพื่อข้ามแม่น้ำหวงเหอพร้อมกับเซี๋ยโฮวอิน (夏侯婴) ไปยังซิวอู้ (修武) ซึ่งเป็นที่ตั้งทัพของจางเอ๋อร์ รุ่งเช้าทั้งสองเข้าไปถึงค่ายจ้าวซึ่งเป็นทหารฮั่น จางเอ๋อร์และหานซิ่นยังนอนหลับไม่ตื่น หลิวปังเดินตรงไปยังห้องนอน เข้าไปค้นหาตราประทับประจำตัวของทั้งสอง แล้วแต่งตั้งทั้งสองใหม่ ปรับเปลี่ยนตำแหน่งของทั้งสองให้เหมาะสม รอจนกระทั่งจางเอ๋อร์และหานซิ่นตื่นจึงค่อยรู้ว่าฮั่นหวางมาถึงแล้ว ตกใจหน้าซีดเปลี่ยนสี ฮั่นหวางมาตบรางวัลทั้งสอง ประกาศแต่งตั้งจางเอ๋อร์ปกครองรัฐจ้าว แต่งตั้งหานซิ่นเป็นเซี่ยงกั๊ว (相国,ตำแหน่งเทียบเท่านายกรัฐมนตรี) ตำแหน่งนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เอาชนะจ้าวปินที่หยินหยางจนไปถึงการทำสงครามกับรัฐฉี

 

แผนการจัดการรัฐฉี

หานซิ่นยกทัพสู่ตะวันออกเพื่อตีรัฐฉี ยังไม่ทันถึงผิงหยวนตู้โขว่(平原渡口) ทราบข่าวจากหลี่สือฉี(郦食其)ว่ารัฐฉีขอเข้ากับรัฐฮั่น หานซิ่นอยากหยุดการยกทัพ แต่ฟ่านหยาง(范阳)นักปรัชญาเจรจาจากไขว้ทง(蒯通)แนะนำหานซิ่นว่า “ท่านแม่ทัพยกทัพมาปราบฉีในครั้งนี้ ฮั่นหวางยังไม่ได้ส่งคนไปรับการยอมจำนนของรัฐฉี และยังไม่มีคำสั่งให้ท่านหยุดทัพโจมตีรัฐฉี ยิ่งกว่านั้นหลี่สือฉีเป็นแค่นักรณรงค์หาเสียงคนหนึ่ง ด้วยเพียงลิ้นสามแฉกและฝีปากกล้าจะสามารถกล่อมรัฐฉีทั้งเจ็ดสิบกว่าเมืองมายอมจำนนต่อเราหรือ ท่านบังคับบัญชาทหารกี่หมื่นคน ต้องใช้เวลากว่าหนึ่งปีจึงพิชิตรัฐจ้าวทั้งหมดห้าสิบกว่าเมือง แม่ทัพคนหนึ่งไม่สามารถเทียบกับนักเจรจาต่อรองหรือ” หานซิ่นรับฟังคำแนะนำของฟ่านหยาง ยกทัพข้ามแม่น้ำเข้าตีรัฐฉี ในเวลานั้นรัฐฉีตัดสินใจสู้รบกับรัฐฮั่น แต่การป้องกันทัพฮั่นค่อนข้างหละหลวมหานซิ่นฉวยโอกาสโจมตีกองกำลังประจำการรัฐฉีตลอดทางไปถึงหลิงสือ(临淄) ฉีหวางเถียนกว่าง (齐王田广) ตื่นตระหนก คิดว่าหลี่สิอฉีทรยศต่อเขาจับหลี่สือฉีไปต้มจนตาย ฉีหวางหนีไปถึงเกามี่(高密) ส่งคนไปขอความช่วยเหลือจากรัฐฉู่ ขณะที่หานซิ่นตีหลิงสือแตก เซี่ยงยวี่ทราบข่าวสั่งหลงเฉว่(龙且)ขี่ม้านำทัพสองแสนคนพร้อมกับฉีหวางเถียนกว่างเข้าต้านทัพฮั่น ทัพหน้าที่มาถึงก่อนเสนอความเห็นให้หลงเฉว่ “ทัพฮั่นยกมาคราวนี้เพื่อทำสงคราม ได้รับชัยชนะมาตลอดทาง แต่กับรัฐฉี ทหารฉู่ ณ.ที่นี่ค่อนข้างที่จะหย่อนยาน ควรที่เราจะขุดคูให้ลึกและสร้างกำแพงค่ายให้สูง ดังสุภาษิต “การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การรุกที่ดีที่สุด” (อี่โสวเว่ยกง以守为攻) ออกกฎไม่ให้อาหารในเมืองที่ถูกฮั่นยึดครองตกไปอยู่ในมือของฮั่น เพื่อให้ทุกคนรู้ว่าฉีหวางยังคงอยู่ และมีทัพฉู่มาช่วย แบบนี้ต้องทำให้ทัพฮั่นขาดเสบียงอาหาร เป็นการป้องก้นตัวเองที่ดี” หลงเฉว่ดูแคลนหานซิ่น อยากจะออกรบโดยเร็ว ไม่ต้องการใช้แผนนี้ ยกทัพออกประจัญหน้ากันกับทัพหานซิ่นเรียงรายทางทิศตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเวยสุ่ย (潍水, ปัจจุบัน คือ แม่น้ำเวยเหอ潍河มณฑลซานตง)คนละฟาก หานซิ่นสั่งให้ทหารเร่งจัดเตรียมถุงกระสอบทรายอัดแน่นหนึ่งหมื่นถุง ทำเขื่อนปิดทางน้ำของแม่น้ำเวยสุ่ยตอนบน แบ่งทัพครึ่งหนึ่งลุยน้ำเข้าโจมตีแนวทัพของหลงเฉว่ หลงเฉว่ยกทัพออกประจัญหน้า หานซิ่นแกล้งทำเป็นถอยทัพ หลงเฉว่คิดว่าหานซิ่นขี้ขลาดยกทัพข้ามแม่น้ำเพื่อโจมตี หานซิ่นเห็นดังนั้นออกคำสั่งเร่งให้ทหารทำลายเขื่อนกระสอบทรายทิ้ง น้ำจากแม่น้ำเว่ยสุยไหลมาอย่างเชี่ยวกราก กองทัพของหลงเฉว่มากกว่าครึ่งยังยกทัพไม่ทันข้ามแม่น้ำถูกน้ำท่วมซัด หานซิ่นหันทัพกลับยกเข้าโจมตีอย่างโหดเหี้ยมฆ่าหลงเสว่ตายในสนามรบ ตงอั้นฉี (东岸齐) ฉู่เหลียงจวิน (楚联军) เห็นกองทัพฝั่งตะวันตกโดนทำลายต่างแยกย้ายกันหนีไปคนละทิศละทางหานซิ่นยกทัพข้ามแม่น้ำอย่างทันควันไล่ล่าไปถึงเมืองเฉินหยาง(城阳) จับทหารทัพฉู่ได้เป็นจำนวนมาก ฉีหวางเถียนกว่างหนีไปได้ไม่นานถูกฆ่าทิ้ง ปีที่สี่แห่งราชวงศ์ฮั่น (203 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ดินแดนแคว้นฉีทั้งหมดตกเป็นของรัฐฮั่น

ล้มแคว้นทั้งสี่

หานซิ่นจัดการรัฐเว่ยสำเร็จ ปราบรัฐจ้าว ทำลายรัฐเยี้ยน ล้มรัฐฉีลงแล้ว เขาส่งจดหมายถึงหลิวปังว่า “รัฐฉีนี้เจ้าเล่ห์แสนกลอย่างร้ายกาจ เป็นรัฐที่นโยบายเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่อาจไว้ใจได้ ทางใต้มีชายแดนติดกับแคว้นฉู่ ถ้าไม่มีการแต่งตั้งตัวแทนปกครองสถานการณ์จะไม่มั่นคง ข้าหวังว่าข้าจะเป็นตัวแทนท่านดำรงตำแหน่งฉีหวาง แบบนี้จึงจะเป็นประโยชน์ต่อท่าน”

ในตอนนั้นเซี่ยงยวี่ปิดล้อมหลิวปังอย่างหนาแน่นอยู่ที่หยินหยาง สถานการณ์สุดวิกฤต หลิวปังอ่านจดหมายหานซิ่นโกรธอย่างสุดขีด โมโหด่าหานซิ่นไม่มาช่วยที่หยินหยางยังเร่งรัดอยากแต่งตั้งตัวเองเป็นหวาง จางเหลียง และเฉินผิงต้องเอาเท้าสะกิดเท้าหลิวปังเข้าไปกระซิบข้างหู “หานซิ่นเสนอมาตอนนี้ไม่เหมาะสมกับเวลา แล้วทำไมเราถึงไม่แต่งตั้งเขาเป็นหวางละ ท่านควรฉวยโอกาสนี้แต่งตั้งเขาเป็นหวาง ดูแลเขาเป็นพิเศษ ยึดถือเขาเป็นพี่น้องไม่ควรกดเขา ไม่งั้นสถานการณ์อาจจะเปลี่ยนแปลงได้” หลิวปังได้ยินคำเตือนเข้าใจและรู้สึกตัว เปลียนคำด่าใหม่เป็น “ คนจริงสมควรเป็นหวาง เพื่อเป็นหูเป็นตาแทนกษัตริย์ แล้วมันผิดตรงไหน” (大丈夫定诸侯,即为真王耳,何以假为!ต้าจ้านจือติ้งฝูโฮว ฉีเหวยเจิ้นหวางเอ่อร์ เหออี่เจี้ยเหวย) จากนั้นส่งจางเหลียงไปแต่งตั้งหานซิ่นเป็นฉีหวางอย่างเป็นทางการ ปรับเปลี่ยนกองทัพของเขาเพื่อเข้าตีทัพฉู่

รัฐฉีพ่ายแพ้และการตายของหลงเฉว่ทำให้เซี่ยงยวี่หวาดหวั่นอย่างมาก ส่งคนแคว้นฉี อู๋จื่อโหยว (武涉游)ล่วงหน้าไปพบเจรจาต่อรองกับหานซิ่นให้ต่อต้านรัฐฮั่นและร่วมเป็นพันธมิตรกับรัฐฉู่ แบ่งประเทศออกเป็นสามรวมทั้งของฉีหวาง หานซิ่น ตอบปฎิเสธไปว่า “ข้าทำงานรับใช้เซี่ยงหวางหลายปี ทำงานเป็นหมอสนามรบก็ไม่ได้ดี ตำแหน่งก็ต่ำต้อยกว่านายทหารใส่เกราะ ข้าพูดอะไรไม่มีใครฟัง แผนการของข้าก็ไม่มีใครใส่ใจ ดังนั้นจึงจากฉู่มาคารวะฮั่น ฮั่นหวางหลิวปังแต่งตั้งให้ข้าเป็นแม่ทัพ ให้ข้าคุมคนเป็นแสน เสื้อผ้าดีๆมีให้ข้าใส่ แบ่งข้าวแบ่งปลาให้ข้ากิน นอกจากนั้นยังเชื่อฟังและเชื่อใจในตัวข้า ดังนั้นข้าจึงมีความสำเร็จในวันนี้ ฮั่นหวางให้ข้าเป็นคนใกล้ชิด ไว้ใจข้า ถ้าข้าทรยศกับเขาผลลัพธ์ที่ได้คงไม่ดีหรอก ถึงข้าตายข้าก็ไม่ทรยศต่อฮั่น โปรดนำคำปฎิเสธของข้าไปบอกต่อความหวังดีของเซี่ยงหวางที่มีให้”

อู๋จื่อโหยวหลังจากเกลี้ยกล่อมหานซินไม่สำเร็จก็กลับไป คนฉีไขว่ทงรู้แล้วว่าตัวแปรสำคัญในการช่วงชิงกันเป็นใหญ่ปกครองประเทศตอนนี้อยู่ในมือของหานซิ่น ดังนั้นมีคนมากมายต่างมาเป็นที่ปรึกษาของหานซิ่น คิดว่าเขาจะมีฐานะตำแหน่งสูงในภายภาคหน้า แต่การทำการใหญ่ที่สั่นสะเทือนโลกและรู้กันทั่วประเทศนั้นอันตรายอย่างยิ่ง ในที่สุดการชักจูงห่านซิ่นแต่หานซิ่นลังเลใจที่จะทรยศต่อหลิวปังต้องยกให้เป็นความดีความชอบของหานซิ่น หลิวปังไม่สามารถเอาชนะรัฐฉีด้วยตนเองและไม่เชื่อฟังแผนการของไขว้ทง

 

หลิวปังพ่าย

ปีที่ห้าแห่งราชวงศ์ฮั่น (202 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลิวปังได้ทีจากเซี่ยงยวี่ที่ยังไม่เตรียมพร้อม กองทัพฉู่เกิดความเหนื่อยล้า เปิดยุทธการศึกกับทัพฉู่ในทันทีทันใด เรียกหานซิ่นจากแคว้นฉี (ปัจจุบัน คือ มณฑลซานตง) เผิงเยว่ (彭越) จากแคว้นเหลียง (ปัจจุบัน คือ ดินแดนทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลเหอหนาน) ลงใต้ร่วมกันล้อมทัพฉู่ เดือนตุลาคมปีที่ห้าแห่งราชวงศ์ฮั่นหานซิ่น และ เผิงเยว่ยกทัพลงใต้มาล่าช้า หลิวปังขับไล่ทัพฉู่ไปถึงกู่หลิง (固陵,ปัจจุบัน คือ เมืองเหวยหยาง淮阳ทิศตะวันตกเฉียงเหนือมณฑลเหอหนาน) ทัพฉู่ตีโต้กลับหลิวปังรบแพ้แล้วรีบถอยกลับ

เพื่อที่จะใช้หานซิ่นและเผิงเยว่ให้เป็นประโยชน์ หลิวปังยอมเชื่อฟังแผนการของจางเหลียง ยกดินแดน(ปัจจุบัน คือ เมืองเวยหยาง淮阳มณฑลเหอหนาน)พื้นที่กว้างใหญ่ทิศตะวันออกจดทะเลให้หานซิ่นครอบครอง แต่งตั้งเผิงเยว่เป็นเหลียงหวาง ยกเมืองซุยหยาง (睢阳, ปัจจุบัน คือ เมืองซางชิว 商丘มณฑลเหอหนาน) ไปทางทิศเหนือจดกู่เฉิง (谷城 ปัจจุบัน คือ เมืองเออหนาน阿南ทิศตะวันออกมณฑลซานตง) ให้เผิงเยว่ ภายใต้การบัญชาการรบของหานซิ่น หานซิ่นและเผิงเยว่ถูกแต่งตั้งเป็นทหารหน่วยรบ

หานซิ่นยกทัพลงใต้จากแคว้นฉีเข้ายึดครองดินแดนฉู่ที่เผิงเฉิง(彭城,ปัจจุบันคือเมืองสวี่โจว徐州มณฑลเจียงซู)รวมทั้งดินแดนทางเหนือของมณฑลเจียงซูในปัจจุบัน ดินแดนทางเหนือมณฑลอันฮุย และพื้นที่กว้างใหญ่ในมณฑลเหอหนาน ตั้งทัพเผชิญหน้ากับทัพฉู่เผิงเยว่เช่นกันยกทัพจากแคว้นเหลียงมุ่งสู่ตะวันตก แม่ทัพฮั่นหลิวเจี๋ย (刘贾) ร่วมกับจิ่วเจียงหวางอิงปู้หักเอาเมืองเฉิงฟู่(城父,ปัจจุบันคือเขตป๋อเซี่ยนเฉิง亳县城มณฑลอันฮุย) หลิวปังนำทัพใหญ่ของเขาออกจากกู่หลิง(固陵)สู่ตะวันออก กองทัพฮั่นตั้งทัพจากทิศใต้ เหนือ ตะวันตกสามด้านโอบล้อมทัพฉู่ เซี่ยงยวี่ถูกบังคับให้ถอยร่นไปที่ก่ายเซี่ย(垓下,ปัจจุบันคือเขตหลิงปี้灵璧ทิศตะวันตกมณฑลอันฮุย,บางตำราบอกว่าคือเมืองเหวยหยาง淮阳มณฑลเหอหนาน)

เดือนตุลาคมปีที่ห้าแห่งราชวงศ์ฮั่น หลิวปัง หานซิ่น หลิวเจี๋ย เผิงเยว่ จิ่วเจียงหวางอิงปู้ ยกทัพทั้งหมดสี่แสนคนทำสงครามครั้งสุดท้ายกับเซี่ยงยวี่และทัพฉู่หนึ่งแสนคนที่ก่ายเซี่ย กองทัพฮั่นยกให้หานซิ่นเป็นแม่ทัพใหญ่บัญชาการรบ ปีกซ้ายคือทัพข่งสี(孔熙) ปีกขวาคือทัพเฉินเห้อ(陈贺) หลิวปังเป็นทัพหนุน ทัพโจวป๋อต้วน(周勃断)เป็นทัพหลัง หานซิ่นนำทัพเข้าโจมตีแต่แพ้ต้องถอยกลับ สั่งทัพปีกซ้ายและขวาเข้าโจมตี ทัพฉู่ต้านทานเหลือที่จะรับ หานซิ่นขับทัพกลับโจมตีต่อ ทัพฉู่พ่ายแพ้ถอยทัพกลับเข้าค่าย ถูกกองทัพล้อมค่ายอย่างแน่นหนา ทัพฉู่ยังคงสู้รบต่อ ทหารฉู่เหนื่อยและหิวโหย หานซิ่นออกคำสั่งให้ทหารบรรเลงเพลงบ้านเกิดทัพฉู่ในยามคืน เนื้อเพลงมีว่า “ทุกคนมาเพื่อฉู่ แผ่นดินนี้เป็นของหลิว หานซิ่นอยู่ก่ายเซี่ย เพื่อตัดหัวเซี่ยงหวาง” (เหรินซินโต่วเซี่ยงฉู่ เทียนเซี่ยอี่ซู่หลิว หานซิ่นถุนกายเซี่ย เย้าจ่านป้าหวางโถว,人心都向楚,天下已属刘;韩信屯垓下,要斩霸王头) เป็นผลให้ทหารฉู่เหนื่อยล้าคิดถึงบ้านเกิด ขวัญกำลังใจของทหารฉู่แหลกสลาย หานซิ่นฉวยโอกาสเข้าโจมตี ทัพฉู่โดนตีแตก กองทัพหนึ่งแสนคนถูกทำลาย เซี่ยงยวี่หนีไปที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำและเชือดคอตัวเองตาย หลิวปังนำทัพไปติ่งเถ้า(定陶)เข้าสู่ทัพของหานซิ่น ยึดคืนอำนาจอาญาสิทธิ์ ภายหลังแต่งตั้งหานซิ่นเป็นฉู่หวาง เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นที่เซี่ยผี(下邳,ปัจจุบันคือ ผีเซี่ยน邳县ทิศตะวันออกมณฑลเจียงซู)

 

กลับไปคารวะแม่เฒ่า

ห่านซิ่นกลับไปแคว้นฉู่เขาเรียกตัวแม่เฒ่าที่เคยให้อาหารแก่เขาเพื่อให้รางวัลเหรียญทองแก่เธอหนึ่งพันเหรียญ เมื่อมาถึงชนบทที่หนานชาง(南昌)เพียงให้เงินเธอแค่หนึ่งร้อยเหรียญและกล่าวว่า “ท่านเป็นเพียงสามัญชนคนธรรมดา ท่านประกอบกรรมดีรางวัลนี้เป็นแค่เริ่มต้นแต่ยังไม่จบ” แล้วเรียกตัวอันธพาลที่เคยดูถูกหานซิ่นบังคับให้หานซิ่นคลานรอดหว่างขาของเขาในวัยหนุ่ม แต่งตั้งเขาเป็นทหารยศร้อยโท และบอกแก่นายทหารทั้งหลายว่า “เขาคือคนที่เข้มแข็งที่สุด ตอนที่เขาดูถูกข้า ข้าไม่คิดฆ่าเขา ถ้าฆ่าเขาข้าคงไม่มีชื่อเสียงในวันนี้ ดังนั้นข้าจึงสงบสติและอารมณ์ จึงมีวันนี้ที่ข้าประสบความสำเร็จ”

หลังจากเอาชนะเซี่ยงยวี่ แม่ทัพฉู่ที่หนีไปหลิ่งจงหลี่(领钟离)มีความสัมพันธ์ที่ดีกับหานซิ่นและไปมาหาสู่กับหายซิ่น

หลิวปังเกลียดหลิ่งจงหลี่มาก ได้ยินมาว่าเมื่อหลิ่งจงหลี่ทำการอยู่ในรัฐฉู่เขาออกคำสั่งให้จับหลิวปัง เมื่อหานซิ่นมาถึงแคว้นฉู่ เมื่อยกทัพผ่านชนบทและเมืองต่างๆได้ออกประกาศกฎอัยการศึก ปีที่หกแห่งราชวงศ์ฮั่น(201ปีก่อนคริสต์ศักราช)มีคนกล่าวหาหานซิ่นก่อกบฎหลิวปังใช้แผนของเฉินผิง บอกว่าฮ่องเต้ต้องการออกไปเยี่ยมเยือนหวางต่างๆ ประกาศให้หวางทุกคนรับทราบให้มาพบเพื่อประชุมกัน กล่าวว่า “ข้าต้องการเดินทางไปหยินเมิ่งเจ๋อ(云梦泽) จริงแล้วต้องการกำจัดหานซิ่น หานซิ่นไม่รู้ หลิวปังแกล้งเดินทางไปรัฐฉู่ หานซิ่นตัดสินใจยกทัพไปปราบจราจล แต่เนื่องจากความไร้เดียงสาของเขาต้องการไปพบหลิวปังก่อน แต่กลัวว่าจะโดนจับ ในตอนนั้นมีคนเสนอแนะให้หานซิ่น “ประหารหลิ่งจงหลี่นำหัวไปถวายฮั่นเกาจู่(หลิวปัง) เกาจู่จะต้องดีใจอย่างยิ่ง ฉะนี้ท่านไม่ต้องกังวลใจเรื่องชั่วร้ายแล้ว” ดังนั้นหานซิ่นใส่ใจในเรื่องนี้และหารือกับหลิ่งจงหลื่ หลิ่งจงหลี่กล่าวว่า “หลิวปังจะไม่โจมตีรัฐฉู่เพราะมีข้าอยู่กับท่านที่นี่ ถ้าท่านต้องการจับข้าไปถวายแก่หลิวปังให้เป็นที่สบอารมณ์ ข้าตายในวันนี้ คนต่อไปที่ตายก็คือท่าน หานซิ่น ดูเหมือนท่านไม่ได้มีคุณธรรมอันใดสูงส่งเลย” ในที่สุดหลิ่งจงหลี่ถูกฆ่าตาย หานซิ่นนำศีรษะหลิ่งจงหลี่ไปเข้าพบถวายให้หลิวปัง หลิวปังสั่งให้ทหารมัดตัวหานซิ่น นำตัวไปไว้บนด้านหลังของรถม้าที่ประทับ หานซิ่น กล่าว่า “มีคนกล่าวว่า กระต่ายตาย เป็นอาหารของหมา นกที่บินสูงเป็นที่ทดสอบของลูกธนูดี รัฐศัตรูถูกทำลาย นักกำหนดนโยบายถูกกำจัด” (เจี่ยวทู่สื่อ เหลียงโก่วเพิง กาวเหนี่ยวจิ้น เหลียงกงจ้าน ตี๋กั๊วพ้อ หมอเฉินหวาง,狡兔死,良狗烹;高鸟尽,良弓藏;敌国破,谋臣亡) เมื่อฟ้ากำหนด ข้ากลับคืนสู่ธุลีดิน” ฮั่นเกาจู่ กล่าว “มีคนบอกว่าเจ้าคิดกบฎ” จึงให้โอกาสหานซิ่นเป็นครั้งสุดท้าย กลับไปที่ลั่วหยาง อภัยโทษให้กับหานซิ่น ลดตำแหน่งเขาเป็นหวยอินโฮ้ว

 

ถูกเนรเทศกลับไปหวยอิน

หานซิ่นถูกเนรเทศกลับไปอยู่ที่หวยอิน เป็นที่รู้กันว่าฮั่นเกาจู่หลิวปังกลัวในความสามารถของเขา ดังนั้นมักจะทำเป็นแกล้งป่วยไม่ยอมให้หานซิ่นเข้าพบหรือเดินทางไปไหนด้วยกัน หานซิ่นรู้สึกไม่พอใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและอยู่บ้านจิตใจก็หดหู่ เมื่อเทียบกับเจี่ยงโฮ้วโจวป๋อ(绛侯周勃) หยินหยางโฮ้วก้วนอิน(颍阳侯灌婴)ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เท่ากันรู้สึกละอายใจ มีครั้งหนึ่งเขาไปเยี่ยมฟ่านไขว้ ฟ่านไขว้ทำความเคารพตามพิธีแล้วกล่าว “ต้าหวาง(หลิวปัง)อยากไปเยี่ยมเยือนบ้านท่าน จริงแล้วต้องการดูสภาพของท่าน” หานซิ่นออกจากบ้านฟ่านไขว้ หัวเราะรำพึงกับตัวเองว่า “ในชั่วชีวิตนี้ของข้าก็ไม่แตกต่างกับฟ่านไขว้

ฮั่นเกาจู่หลิวปังเมื่อสบายใจมักจะพูดคุยกับหานซิ่นความสามารถของแม่ทัพ หลิวปังถาม “ข้ามีความสามารถไหม” หานซิ่นตอบ “ใต้ฝ่าพระบาท ท่านสามารถบัญชาทหารถึงแสนคน” หลิวปัง ถาม “งั้นข้าทำอย่างไร” หานซิ่น ตอบ “ข้าจะเป็นหูเป็นตาทำงานต่างท่าน” หลิวปังยิ้มและกล่าว “ยิ่งมากยิ่งดี ดีแก่ตัวข้า” หานซิ่น กล่าวว่า “ใต้ฝ่าพระบาทไม่ควรเป็นแม่ทัพเอง ใช้แม่ทัพที่ดี นี่เป็นงานของหานซิ่นทั้งหมดเพื่อใต้ฝ่าพระบาท นี่คือความแตกต่างของฝ่าพระบาทที่ไม่มีใครเทียบ”

หานซิ่นในระหว่างที่ถูกกักบริเวณร่วมกับจางเหลียงเขียนตำราพิชัยสงครามตั้งแต่ก่อนราชวงศ์ฉินเสร็จ มีทั้งหมด 182 บท ซึ่งเป็นตำรารวบรวมประวัติศาสตร์การทำสงครามของประเทศจีนทั้งหมดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เป็นตำราพื้นฐานที่ใช้ในการศึกษาและวิจัยการทำสงคราม การทหาร และกลยุทธต่างๆในประเทศจีน ในเวลาเดียวกันยังรวบรวม เก็บรักษากฎระเบียบข้อบังคับทางทหาร รวมทั้งศิลปการทำสงครามสามบทที่สูญหายไป

เฉินซี (陈豨)ได้รับแต่งตั้งให้ไปดูแลเขตฉีลุนชิ่น(巨鹿郡)ได้มาอำลาหานซิ่น หานซิ่นซึ่งปราศจากคนสนิทมือซ้ายและมือขวา จับมือเฉินซีเขย่าแล้วกล่าว “ท่านสามารถรับฟังคำพูดจากในใจข้าไหม ข้ามีคำพูดที่จะบอกกับท่าน” เฉินซีกล่าวยินดีรับฟังคำสั่งของท่านแม่ทัพทั้งหมด หานซิ่น กล่าว “ดินแดนทั้งหมดที่ท่านปกครองเป็นสถานที่ดีที่สุดในการรวมกำลังพล และท่านก็เป็นที่โปรดปรานของใต้ฝ่าพระบาท ถ้ามีคนกล่าวหาว่าท่านจะเป็นกบฎ ใต้ฝ่าพระบาทแน่นอนย่อมไม่เชื่อ ถ้ายังมีใครมากล่าวหาท่านเป็นกบฎ ใต้ฝ่าพระบาทอาจจะเริ่มต้นสงสัย ถ้ายังมีใครมากล่าวหาท่านเป็นกบฎครั้งที่สาม ใต้ฝ่าพระบาทคงโกรธและยกทัพไปปราบปราม ข้าจะอยู่ในเมืองหลวงทำการลับภายใน เราสามารถล้มแผ่นดินนี้ลงได้” เฉินซีคำนวณทุกอย่างเข้าใจในความสามารถของหานซิ่น เชื่อในแผนการของหานซิ่น รับรองว่าจะทำตามคำสั่งทุกประการของหานซิ่น

 

โศกนาฎกรรมอวสาน

ปีที่สิบแห่งราชวงศ์ฮั่น(197ปีก่อนคริสต์ศักราช) ในที่สุดเฉินซีก่อกบฎ หลิวปังยกทัพใหญ่ออกไปปราบปราม หานซิ่นป่วยไม่ได้ติดตามฮั่นเกาจูไปรบ ตอนนี้มีบางคนใส่ความหานซิ่นก่อกบฎ ดูเหมือนว่าแขกของหานซิ่นทำให้หานซิ่นถูกปรักปรำ หานซิ่นถูกนำตัวไปกักบริเวณ เป็นน้องชายของเฉินซีแขกผู้มาเยือนหานซิ่นที่ต้องการช่วยพี่ชายอาศัยการเข้าหาหลี่โฮ้ว(ฮวงโฮ้วของหลิวปัง)ใส่ร้ายเรื่องราวหานซิ่นต้องการก่อกบฎ หลี่โฮ้วไม่มีหลักฐานแน่นอน เพียงแต่หลอกหานซิ่นให้ออกมา แล้วปรึกษากับอัครเสนาบดีเซียวเหอ บอกว่าเฉินซีตอนนี้ถูกฆ่าตายแล้ว หวางต่างๆต่างล่วงหน้ามาประชุมในท้องพระโรง หานซิ่นเนื่องจากเป็นเพื่อนสนิทของเซียวเหอจึงเข้ามาในท้องพระโรง หลี่โฮ้วให้ทหารมัดตัวหานซิ่น ณ.ที่ศาลาฉางเล่อกง(长乐宫)ตรงหอระฆังฆ่าหานซิ่นตาย พร้อมกับสังหารสามตระกูลที่เกี่ยวข้อง หานซิ่นใกล้ตาย กล่าวว่า “เพราะข้าไม่ใช้แผนการของไขว้ทง ต้านการกระทำทั้งหมดของหญิงคนนี้ ข้าจึงมีจุดจบวันนี้”

ในปี 196 ก่อนคริสต์ศักราช ฤดูหนาว เดือนมกราคม ผู้ร่วมก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นหวยอินโฮ้ว หานซิ่นถูกฆ่าตายที่ศาลาหอระฆังฉางเล่อกงอายุ 35 ปี

เมื่อหานซิ่นยังเป็นตัวแปรระหว่างสงครามฉู่ฮั่น ชีวิตของผู้บริสุทธิ์เป็นแสนที่ต้องตาย เลือดไหลนองฉางอัน (长安) เสียงร้องไห้ดังไปทั่วแผ่นดิน หลังจากผ่านกาลเวลา ความหนาวและกระแสลม หิมะที่เต็มท้องฟ้า ชาวฉางอันแสดงคำพูดได้ดีที่สุดด้วยความเสียใจสุดซึ้ง ทุกคนกล่าว่า หานซิ่น หวยอินโฮ้วตอบแทนข้าวด้วยทองพันเหรียญ ไม่เดยลืมแม่เฒ่า รำลึกถึงเสื้อผ้าและอาหารที่หลิวปังแบ่งปัน อย่างนี้หรือจะทรยศต่อฮั่นหวาง เซียวเหอบอกว่าหานซิ่นเป็นคนที่เข้มแข็งที่สุด ถ้าต้องการสิ่งใดๆจะทำการแบบตรงไปตรงมา คือหวยอินโฮ้วไม่คิดคดต่อฮั่นหวาง แต่ฮั่นหวางคิดคดต่อหวยอินโฮ้วหานซิ่น หานซิ่นจึงต้องตาย เพราะความเกลียด ไม่นานไขว้ทงโดนจับตัวมาฮั่นเกาจู่สอบสวนเป็นการส่วนตัว “ตอนที่ท่านปรึกษากันกับหานซิ่น ปรึกษากันเรื่องอะไร” ไขว้ทง ตอบ “เรากับหานซิ่น คำพูดที่คุยกันต่อหน้าก็คือการแบ่งผลประโยชน์หลังจากนี้ แบ่งประเทศออกเป็นสาม เพราะว่าหลังจากสถาปนาฮั่นแล้ว ยังสามารถแบ่งดินแดนออกเป็นสามได้เหมือนกัน” ฮั่นเกาจูถามต่อ “ดังนั้นหานซิ่นเชื่อในคำพูดนี้” ไขว้ทงถอนหายใจแล้วกล่าว “คำพูดของหานซิ่น ฮั้นหวางมีบุญคุณยิ่งใหญ่ต่อข้า ให้ข้ามีรถนั่ง เสื้อผ้าดีๆมีให้ข้าใส่ แบ่งข้าวแบ่งปลาให้ข้ากิน” ข้าได้ยินเต็มสองหู ให้รถนั่งแก่ผู้ที่ขาดแคลน ให้เสื้อผ้าแก่คนที่เป็นกังวล ให้อาหารแก่คนที่กำลังอดตาย เราเห็นว่าเขาไม่อาจที่จะลืมบุญคุณนี้ได้” ฮั่นเกาจู่เงียบลงทันที ไม่สามารถพูดอะไรออกมาได้ น้ำตาไหลรินคลอเป้าตา ไขว้ทงถอนใจกล่าวต่อไป “ดังนั้นท่านจึงได้ปกครองแผ่นดิน อาจจะเป็นเพราะความสามารถของหวยอินโฮ้ว แต่อย่างไรก็ดีเขาเป็นคนรับผิดชอบต่อคำพูด จิตใจเขาอ่านออกความสง่างามของใต้ฝ่าพระบาทที่มีต่อคนทุกข์ยาก เขาจึงยกทัพลงใต้ เอาชนะเซี่ยงยวี่ที่ก่ายเซี่ย โอนทัพเสร็จกลับคืนสู่แคว้นฉู่ มาร่วมดื่มน้ำพิพัธสัตยา เฉลิมฝ่าบาทขึ้นครองราชย์ เรื่องราวทั้งหมดนี้ พวกเรามีอะไรไปต้านใจเขาได้ อนิจจา ชีวิตเขาที่อยู่บนเส้นด้ายในระหว่างสงครามฉู่ฮั่น เขาไม่เคยเปลี่ยนใจ วันนี้เรื่องราวจบลง ขาดนายทหารผู้ยิ่งใหญ่ บุรุษที่มีใจมุ่งมั่นที่แตกต่าง รวมทั้งคดีความการสมรู้ร่วมคิดกับเฉินซี ต้องค้นหาความจริงให้ได้ หานซิ่นท่านนี่โง่จริงๆ” เมื่อโดนไขว้ทงถามฮั่นเกาจู่ย้อนกลับ ฮั่นเกาจูหลิวปังทนฟังไม่ได้หันหน้ากลับ แล้วโบกมือว่า “พอที”

เรื่องราวของหานซิ่น หวยอินโฮ้ววีรบุรุษต้นราชวงศ์ฮั่นก็จบเพียงเท่านี้เหลือเป็นประวัติศาสตร์ให้ชาวจีนจดจำและศึกษามาจนจวบปัจจุบัน...

 

 http://www.oknation.net/blog/jui880/2013/04/22/entry-1

 


รูปภาพของ วี่ฟัด

จางเหลียง...หนึ่งในสิบยอดกุนซือตลอดกาลของจีน

จางเหลียง...หนึ่งในสิบยอดกุนซือตลอดกาลของจีน

ใครที่สนใจในประวัติศาสตร์จีนคงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก จางเหลียง ที่ปรึกษาของหลิวปังในการต่อกรกับเซี่ยงหยี่แห่งแคว้นฉู่ซึ่งมีนามขจรว่า “ซีฉู่ป่าหวาง”จนมีชัยชนะเด็ดขาดและสถาปนาราชวงศ์ฮั่นแห่งประเทศจีนขึ้นหลังจากราชวงศ์ฉินล้มสลาย

 

จางเหลียงมีชีวิตอยู่ในยุคก่อนคริสต์ศักราช 250-186 ปี ชาวฮั่น บ้านเกิดอยู่ที่เมืองป๋อโจว (亳州) มณฑลเหอหนาน หรือที่ตำนานบอกกล่าวว่าคือเมืองเป่าเฟิง (宝丰) เป็นผู้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ทางทหารที่โดดเด่นในตอนท้ายของราชวงศ์ฉิน และต้นราชวงศ์ฮั่นของจักรพรรดิหลิวปัง หนึ่งในรัฐบุรุษที่ร่วมก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น ขนามนามว่า “สามวีระบุรุษต้นราชวงศ์ฮั่น” (汉初三杰,ฮั่นจู่ซานเจ๋ย) ดังมีจางเหลียง (张良) หานซิ่น (韩信) และ เซียวเหอ   (萧何) ช่วยให้หลิวปังขึ้นครองบังลังค์สถาปนาและปกครองราชวงศ์ฮั่น หลังจากทำงานใหญ่สำเร็จแล้วอำลาหลิวปังไปแสวงหาความวิเวกเพื่อไม่ต้องการพบชะตากรรมดังเช่นหานซิ่น จางเหลียงตายเขาใช้ชื่อในมรณกรรมว่า เหวินเฉิงโฮ้ว (文成侯, หรือเรียกอีกชื่อว่า เหวินเฉิง文成) หลังจากนั้นชาวจีนนับถือเขาเสมือนเจ้า และบันทึกประวัติชีวิตของเขาในหนังสือชื่อว่า “หลิวโฮวจือเจีย” (留侯世家)

จางเหลียงเกิดในมณฑลเหอหนาน ซึ่งเรียกว่า ฉินม้อ (秦末)ในราชวงศ์ฉิน ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีของ หวางสือเซียน (黄石先) ซึ่งสืบเชื้อสายเป็นรุ่นที่ห้าของชาวฮั่น เข้าร่วมในการลอบสังหารจักรพรรดิฉินสื่อหวาง (ฉินซีฮ่องเต้) แต่ไม่สำเร็จจึงหนีไปเซี่ยผี (下邳) จางเหลียงเป็นคนที่มีความรู้ในศิลปการทำสงคราม แท็คติกและไหวพริบดีมาก ปลายราชวงศ์ฉินเกิดกบฎชาวนาจึงเข้าร่วมกับหลิวปังในฐานะกุนซือที่ปรึกษาคนสำคัญ

สงครามระหว่างฮั่นและฉู่ซึ่งขับเคี่ยวกันเป็นเวลานานกว่า 6 ปี ขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่ เผิงเยว๋ (彭越) และ หานซิ่น  (韩信) หานซิ่นซึ่งเก่งและถนัดในการรบได้รับแต่งตั้งเป็นฉีหวาง (齐王)ซึ่งเป็นตำแหน่งเจ้าครองเมือง เผิงเยว่ได้เป็นว่าที่เจ้าครองเมืองดูแลเรื่องยุทธศาสตร์การรบ ทั้งสองสนับสนุนจางเหลียงในการไล่ล่าเซี่ยงหยี่ (项羽) ทำลายกองทัพแคว้นฉู่ เพื่อช่วยให้หลิวปังทำการใหญ่สำเร็จสถาปนาตัวเองขึ้นครองบังลังค์กษัตริย์ มีประโยคที่เป็นอมตะซึ่งหลิวปังกล่าวว่า “หยิ่นโช่วเซ่อหยีเว่ยจ้านจือจง เฉซ่างเชียนหลี่จือจ้าน” (运筹策于帷帐之中,决胜千里之外) หมายความว่า การกำหนดกลยุทธในการลำเลียงกองพลที่ดีเป็นม่านตาข่าย ถึงแม้การศึกจะไกลถึงหมื่นไมล์ก็สามารถชนะได้ ซึ่งประโยคนี้เป็นความคิดของจางเหลียงในการวางกลยุทธทางทหารและต่อมามีการใช้กลยุทธนี้ไปทั่วโลก

 

ช่วงที่จางเหลียงหลบภัยอยู่ที่เซี่ยผี

ในช่วงที่จางเหลียงหลบหนีการไล่ล่าของทหารฉินไปหลบอยู่ที่เซี่ยผี วันหนึ่งเขาได้พบผู้เฒ่าซึ่งสวมใส่ผ้าฝ้ายบนสะพานแห่งหนึ่ง ผู้เฒ่าแกล้งถอดรองเท้าฝ้ายบนสะพานและบอกให้เขาเก็บมาให้ จางเหลียงเก็บรองเท้าขึ้นมาแม้จะไม่พอใจ ผู้เฒ่าเขย่งเท้าและสั่งให้จางเหลียงสวมรองเท้าให้ ครั้งแรกจางเหลียงอยากเข้าไปทำร้ายผู้เฒ่าแต่เนื่องจากจางเหลียงชีวิตเคยผ่านความยากลำบากมาหลายครั้ง เขาข่มใจตนเองและคุกเข่าสวมใส่รองเท้าให้ท่านผู้เฒ่าอย่างทะนุทนอม ผู้เฒ่าไม่ขอบคุณแถมยังเดินยิ้มจากไป จางเหลียงคุกเข่ามองดูผู้เฒ่าเป็นเวลานาน จากนั้นผู้เฒ่ากล่าวกับจางเหลียง ว่า “อีกห้าวันจากนี้ให้มารอผู้เฒ่าในตอนเช้า ณ.ที่เชิงสะพาน” จางเหลียงไม่เข้าใจความหมาย แต่เขารับปากกับผู้เฒ่า

ห้าวันต่อมาหลังเช้าไก่ขันจางเหลียงรีบไปที่สะพานแต่แปลกใจที่ผู้เฒ่ามายืนคอยอยู่ที่เชิงสะพานล่วงหน้าแล้ว ท่านผู้เฒ่าโกรธและตำหนิจางเหลียงว่า “นัดกับผู้เฒ่าแล้ว ทำไมผิดนัดมาสาย” แล้วให้จางเหลียงกลับไปให้มาใหม่ในเช้าอีกห้าวันข้างหน้า

เช้าของห้าวันถัดมาเขามาคอยท่านผู้เฒ่าแต่ก็พบว่าท่านผู้เฒ่ามายืนคอยอยู่ก่อนแล้ว แล้วก็ไล่เขากลับไปให้มาอีกในเช้าของห้าวันต่อไป ครั้งนี้ซึ่งเป็นครั้งที่สามจางเหลียงไปนั่งรอท่านผู้เฒ่าตั้งแต่เที่ยงคืนของเช้าวันที่ห้า จิตใจที่มุ่งมั่น จริงจังและอดทนของจางเหลียงทำความประทับใจให้ผู้เฒ่า ผู้เฒ่าจึงให้หนังสือแก่จางเหลียงเล่มหนึ่งและกล่าวว่า “อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วเจ้าจะเป็นผู้ครองนครได้ 10 ปีหลังจากนี้แผ่นดินจะวุ่นวาย เจ้าสามารถใช้หนังสือเล่มนี้ทะนุบำรุงรักษาและทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองได้ อีก 13 ปีเราค่อยมาเจอกันอีกครั้ง” จากนั้นท่านผู้เฒ่าก็เดินหายไป ท่านผู้เฒ่าในตำนานลึกลับนี้สันนิษฐานว่า คือ เกาสือหวางสือกง (高士黄石公) หรือ “ผู้เฒ่าแห่งการทำลาย

รุ่งอรุณเช้าวันนั้นจางเหลียงเพ่งพินิจหนังสือเล่มด้วยความประหลาดใจ หนังสือนี้ว่าด้วยศิลปในการทำสงคราม (ไท่กงปิงฟ่า太公兵法) มีชื่อว่า สู้ซู (素书) ตั้งแต่นั้นมาไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืนจางเหลียงมุ่งมั่นอยู่กับการเรียนรู้และฝึกฝนในหนังสือศิลปแห่งสงครามเล่มนี้ ศึกษาเหตุการณ์และประวัติศาสตร์ในอดีต ในที่สุดเรียนลึกลงไปถึงกลยุทธในการทำสงคราม รอบรู้การวางแผนและฝึกหัดทหารในการทำสงคราม จนกลายเป็นกุนซือนักคิด

เดือนกรกฎาคม ก่อนคริสต์ศักราช 209 สมัยราชวงศ์ฉิน เฉินเซิน  (陈胜) กับ อู๋กว่าง (吴广) ที่หมู่บ้านต้าเจ๋อ(大泽) ร่วมกันจับอาวุธสู้เพื่อต่อต้านราชวงศ์ฉิน หลังจากนั้นแผ่นดินฉินก็ลุกเป็นไฟมีผู้ต่อต้านไปทั่ว จางเหลียงรวบรวมสมัครพรรคพวกมากกว่า 100 คนเพื่อทำการต่อต้านราชวงศ์ฉินเช่นกัน หลังจากสู้รบเพียงลำพัง หลิวปังได้ยกพลมาที่เซี่ยผีเพื่อพบจางเหลียงผนึกกำลังกันพัฒนากองทัพ เมื่อพบกันทั้งสองเข้ากันได้ดี จางเหลียงได้อธิบายถึงศิลปในการทำสงครามในหนังสือสู้ซูให้แก่หลิวปังฟังอยู่หลายๆครั้ง หลิวปังเข้าใจและนำกลยุทธของจางเหลียงไปประยุกต์ใช้อยู่บ่อยๆ ดังนั้นจางเหลียงจึงเปลี่ยนใจที่จะนำเสนอมุมมองและแนวความคิดให้หลิวปังตัดสินใจติดตามไปกับหลิวปังในฐานะกุนซือที่ปรึกษาทางกลยุทธทางทหาร จากนั้นจางเหลียงด้วยความไว้ใจและความเคารพจากหลิวปังทำให้เขามีโอกาสได้แสดงความสามารถและความฉลาดอย่างเต็มที่ให้ปรากฎในประวัติศาสตร์

ช่วงต้นในระหว่างที่อยู่เซี่ยผีจางเหลียงคบหาสมาคมเป็นเพื่อนร่วมสาบานกับเซี่ยงเหลียง (项梁) พวกเขาสั่งคนออกตามหาหานหวางเฉิง (韩王成) ในนาม “หานหวาง” จางเหลียงทำงานให้หานหวางในฐานะที่ปรึกษา(ตำแหน่งเทียบเท่านายกรัฐมนตรี) การฟื้นฟูแคว้นหานของจางเหลียงบรรลุวัตถุประสงค์ ความฝันที่จะฟื้นฟูบ้านเกิดเมืองนอนกลายเป็นความจริง จางเหลียงทุ่มสติปัญญาทั้งหมดทำงานให้กลับหานหวางเฉิงและสร้างกองทัพหานขึ้นมาใหม่ (แคว้นหานเป็นแคว้นหนึ่งร่วมอยู่ในยุค the Warrior States ของจีน) ตั้งทัพอยุ่ในเขตใกล้เมืองอิงฉวน (颍川) และรวบรวมเมืองใหม่ๆได้หลายๆเมือง แต่บางครั้งก็โดนตีโต้กลับโดยกองทัพฉิน ไม่สามารถจะก่อการใหญ่ได้

 

จางเหลียงเป็นกุนซือพาหลิวปังเข้ายึดเซียนหยาง

ในสิ้นปีของปีนั้นฉู่ห่วยหวาง (楚怀王) ออกคำสั่งให้หลิวปัง และเซี่ยงหยี่แบ่งทัพกันไปปราบปรามกองทัพฉิน และให้สัญญาว่า ทั้งสองทัพใครเข้ายึดเมืองเซียนหยาง (咸阳) ก่อน คนนั้นจะได้เป้นกษัตริย์

หลิวปังเดินทางยกทัพผ่านอิงฉวน(颍川) หนานหยาง (南阳) ตั้งใจจะยกทัพจากอู่กวาน (武关) เข้าสู่กวนจง (关中,แผ่นดินศูนย์กลางของประเทศ) ในปีที่สามของรัชกาลที่สองของราชวงศ์ฉิน ( 207 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) หลิวปังนำทัพเข้ายึดอิงฉวน หานหวางและจางเหลียงได้พบปะกับหลิวปังขอให้หานหวางอยู่รักษาเมืองหยางจ้าย (阳翟,เมืองหลวงของแคว้นหาน ปัจจุบันคือเมืองยวี่โจว禹州ในมณฑลเหอหนาน) แล้วให้จางเหลียงนำทัพลงใต้ ในเดือนเก้ากองทัพยกมาถึงหนานยาง (ปัจจุบันคือเมืองหนานยางในมณฑลเหอหนาน) ทหารฉินที่ป้องกันหนานหยางต่อสู้อย่างแข็งขันแล้วหลบหนีไปยังหว่านเฉิง(宛城,ปัจจุบันขึ้นกับเมืองหนานหยาง) หลิวปังจึงสั่งให้เผาเมืองหนานหยางและหลีกเลี่ยงที่จะเข้าตีเมืองหว่านเฉิงเดินทัพผ่านไปทางทิศตะวันตก

จางเหลียงคิดว่าไม่ถูกต้องจึงบอกหลิวปังว่า ในเมื่อหลิวปังเร่งยกทัพเพื่อจะรีบไปให้ถึงด่านกวนจง แต่เส้นทางนี้เต็มไปด้วยกองทัพฉินเป็นอันตรายต่อกองทัพเราอย่างยิ่ง ทัพฉินอาจจะตีตลบหลังได้ จึงเสนอหลิวปังให้ตีเอาเมืองหว่านเฉิงให้ได้เพื่อความปลอดภัยของกองทัพหลิวปังรับข้อเสนอของจางเหลียงทันทีรีบเปลี่ยนธงกองทัพยกไปในคืนนั้น รุ่งเช้าจึงเข้าล้อมเมืองหว่านเฉิงอย่างแน่นหนา หลิวปังทำตามคำแนะนำของเฉินฮุย (陈恢) ใช้จิตวิทยาการรบในการรักษาเขตเมืองหนานยางไม่เอาผิดต่อเจ้าครองเมืองหว่านเฉิงหลี่หมิน (吏民) เมืองหว่านเฉิงจึงยอมแพ้แก่ทัพหลิวปัง โดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อ กองทัพหลิวปังจึงไม่ต้องกลัวการรบตลบหลังจากทัพฉิน ภัยคุกคามจากเขตหนานหยางลดลงไป และมีทหารแปรพักตร์มากมายมาเข้าร่วมกับกองทัพของเขา ทำให้กองทัพเขามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ภายหลังกองทัพของหลิวปังเดินทางมาถึงเย๋ากวาน(峣关,ปัจจุบันคือเมื่องซ่างโจว商州ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมณฑลส่านซี) เย๋ากวานคือป้อมปราการเก่าของหนานหยางและด่านกวนจงที่ใช้ติดต่อคมนาคมกัน ง่ายต่อการป้องกันศัตรู เป็นทางเข้าไปสู่เมืองเซียนหยางเมืองหลวงของรัฐฉิน และเป็นป้อมปราการสุดท้ายก่อนถึงเมืองเซียนหยาง รัฐฉินจึงส่งทหารมาคุ้มกันอย่างแน่นหนา หลิวปังเร่งรีบที่จะเข้าตีป้อมค่ายนี้นำทหารสองหมื่นคนออกไปทำการรบ แต่จางเหลียงทักทานบอกว่าทหารฉินในป้อมค่ายตั้งกำลังอย่างแข็งแกร่งยากที่จะตีได้หลิวปังกลัวว่ากองทัพใหญ่ของเซี่ยงหยี่จะสามารถเข้าด่านกวนจงได้ ร้อนใจถามความเห็นจากจางเหลียง จางเหลียงใช้ปัญญาเสนอแผนการให้หลิวปัง จางเหลียงกล่าวว่า ผู้พิทักษ์ป้อมที่เข้มแข็งที่สุดเป็นลูกคนขายเนื้อซึ่งเป็นคนละโมบลองเอาเงินไปมอบให้เป็นของขวัญอาจจะซื้อใจผู้พิทักษ์คนนี้ได้ เขาบอกให้หลิวปังส่งทหารห้าหมื่นคนล่วงหน้าไปวางกำลังออบโล้มอยู่บนเขาโจวซันชักธงรบหลอกข้าศึก จากนั้นให้ส่ง หลี่สื่อฉี (郦食其)นำทรัพย์สมบัติไปเสนอต่อผู้พิทักษ์ป้อมรัฐฉินมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จได้ หลิวปังรีบดำเนินการทันที ผู้พิทักษ์ด่านเย๋ากวานยอมรับและเปิดประตูด่านให้ทั้งยังยินยอมรวมทัพกับหลิวปังมุ่งสู่เซียนหยาง หลิวปังดีใจเป็นที่สุดแต่จางเหลียงยังไม่ไว้ใจ เขาวิเคราะห์ว่า นี่เป็นความยินยอมเพียงแต่ผู้พิทักษ์ป้อมเย๋ากวานแต่ทหารในบังคับอาจจะไม่เชื่อฟัง ถ้าทหารพวกนี้ไม่เชื่อฟังผลที่ตามมาอาจร้ายแรงอย่างคาดไม่ถึง สู้ทำลายกองทัพฉินให้อ่อนแอลงจะดีกว่า ดังนั้นหลิวปังจึงนำทัพออกโจมตีกองทัพฉินอย่างฉับพลันตีกองทัพฉินพ่ายหนีไปยังหลานเถียน (蓝田,ปัจจุบันคือเมืองหลานเถียนทิศตะวันตกของมณฑลส่านซี) หลิวปังเมื่อชนะนำทัพออกไล่กองทัพเย๋ากว่านของฉินอ้อมเขากุ้ยซัน (蒉山) เข้าทำลายทัพฉินที่หลานเถียน แล้วนำทัพมุ่งสู่ตะวันตก

ในเวลาเดียวกันจักรพรรดิฉินถูกสังหารโดยจ้าวเกา (赵高) โอรสของจักรพรรดิฉินพึ่งมีอายุ 46 วันเห็นข้าศึกมาล้อมถึงกำแพงเมือง รัฐฉินสิ้นหวังที่จะกู้สถานการณ์จึงจัดการพิธีศพจักรพรรดิ และปิดผลึกพระราชลัญจรของจักรพรรดิส่งมอบให้แก่หลิวปัง

หลิวปังตั้งแต่ทำตามคำสั่งของฉู่ห่วยหวางยกทัพมุ่งสู่ตะวันตกเข้าสู่กวนจง บังคับให้ทารกโอรสจักรพรรดิฉินยอมแพ้เป็นเวลานานถึงหนึ่งปี เป็นเพราะหลิวปังทำตามกลยุทธที่จางเหลียงวางไว้เพื่อให้ความมั่นใจว่าการดำเนินการทางการทหารจะราบรื่น เพื่อเอาชนะเวลาล่วงหน้าเข้ายึดเซียนหยางก่อนเซียงหยี่ก้าวหนึ่ง

กองทัพหลิวปังยาตราเข้าเมืองเซียนหยางพบเห็นพระราชวังอันหรูหรา สาวงามและสมบัติพัสถานต่างๆทำให้ทุกคนลุ่มหลงตนเอง มึนงงและเพลิดเพลินภายในเมืองเซียนหยาง แม้แต่หลิวปังเองยังควบคุมตัวเองไม่อยู่ เพลิดเพลินกับสมบัติท้องพระคลังที่รัฐฉินทิ้งไว้ให้ สนุกสนานกับความร่ำรวยของตน แม้แต่นายพลฟ่านไขว้ (樊哙) ซึ่งร่วมรบเสี่ยงตายกับหลิวปังเหน็บแนมหลิวปังว่า หลิวปังรวยแล้ว แต่หลิวปังไม่ใส่ใจ บางส่วนของผู้นำกองทัพร่วมรบกับหลิวปังเป็นกังวลในเรื่องนี้ ในห้วงเวลาวิกฤตนี้จางเหลียงวิเคราะห์สถานการณ์ให้หลิวปังฟังว่า “จักรพรรดิฉินทำเรื่องผิดพลาดไว้มาก ดังนั้นหลิวปังจึงมีโอกาสโค่นเขาลงจากบังลังค์และยึดเมืองเซียนหยางได้ ตอนนี้เราสามารถปราบต้นเหตุแห่งหายนะแล้ว หลิวปังควรทำตัวสมถะ อย่าละโมบ ตอนนี้กองทัพยกเข้ายึดแผ่นดินฉินแล้วยังลุ่มหลงมกหมุ่นในความสุข สิ่งเหล่านี้เรียกว่า ผู้กระทำความชั่ว” แม้คำพูดประโยคนี้จะเป็นยาดีต้องขมเป็นยารักษาโรคที่ดี เป็นคำพูดที่จริงใจที่ระคายหูแต่ก็มีคนที่เต็มใจที่จะฟังโดยเฉพาะฟ่านไขว้

คำพูดที่อ่อนนอกแต่แข็งในของจางเหลียงโดยเฉพาะกล่าวถึงความล่มสลายของรัฐฉินและความสำเร็จของหลิวปังในปัจจุบัน โดยเฉพาะคำกล่าวที่ว่า “ผู้ลุ่มหลงมกหมุ่นในความสุข คือ ผู้กระทำความชั่ว” กระแทกใจหลิวปังจนเกือบเมา หลิวปังยอมรับอย่างเต็มใจต่อกฎหมายที่จางเหลียงร่างไว้ ออกคำสั่งพิทักษ์พระราชวังและสมบัติท้องพระคลังของราชวงศ์ฉิน ห้องเก็บพระคลังสมบัติตลอดจนทรัพย์สมบัติต่างๆไม่ให้มีการปล้นแย่งชิงกัน ออกกฎลงโทษทหารที่ทำการฝ่าฝืน ในขณะที่รอทัพของเซี่ยงหยี่ที่กำลังยกทัพเดินทางมา หลิวปังสั่งดำเนินการตามที่จางเหลียงแนะนำออกกฎหมายสามบทลงโทษคดีฆ่ากัน คดีทำร้ายซึ่งกันและกันและคดีลักขโมย ออกประกาศไปทั่วสี่มุมเมืองยกเลิกกฎหมายราชวงศ์ฉินและบังคับใช้กฎหมายผู้ปกครองในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังส่งคนของตนร่วมลาดตระเวณทั่วเมืองพร้อมกับเจ้าหน้าที่รัฐฉิน ผลลัพธ์ คือ หลิวปังสามารถเอาชนะใจราษฎรฉิน นำอาหารออกแจกจ่ายราษฎร หลิวปังมองทะลุให้ทหารไปเป่าประกาศแก่ราษฎรทั่วไปว่า “อาหารมีเพียงพอต่อการแจกจ่ายและบริโภคและไม่จำเป็นต้องหาซื้อหรือจัดหา” ราษฎรฉินได้ยินมีความยินดียอมรับให้ทัพของหลิวปังปกครองเมือง

 

เหตุการณ์งานเลี้ยง ณ. ที่หงเหมิน

เดือนกุมภาพันธ์ ปี 206 ก่อนคริสต์ศักราชกองทัพของเซี่ยงหยี่ยกมาถึงด่านหานกู่กวน (函谷关,ปัจจุบันคือเมืองหลิงเป่า灵宝ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลเหอหนาน) หลิวปัง ออกคำสั่งปิดประตูเมืองเพื่อห้ามทัพฉู่เข้ามาในตัวเมือง เซี่ยงหยี่ทราบข่าวหลิวปังเข้ายึดเมืองเซียนหยางได้แล้วมีความโกรธเป็นอย่างยิ่งจับเอาลูกน้องหลิวปังเฉาอู่ฉาง (曹无伤) มาซักถามว่า หลิวปังอยากเป็นกษัตริย์ใช่ไหม เซี่ยงหยี่สั่งให้ลูกน้องรวมพลกองทัพครั้งใหญ่ เดือนตุลาคมปีเดียวกันเซี่ยงหยี่ยกทัพออกจากด่านหานกู่กวนเข้าไปตั้งมั่นที่ตำบลซินเฟิง (新丰) หงเหมิน (鸿门,ปัจจุบันคือหลิงเจี่ยน临涧ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลส่านซี)เพื่อจะทำศึกประหัตประหารกับหลิวปังให้ตายไป

ยังดีที่จางเหลียงและเซี่ยงป๋อ (项伯) ซึ่งสักดิ์เป็นลุงของเซี่ยงหยี่เป็นเพื่อนเก่ากัน ในช่วงที่กองทัพของเซี่ยงหยี่ตัดสินใจที่จะเข้าตีทัพหลิวปัง เซี่ยงป๋อตัดสินใจขี่ม้ามากองทัพหลิวปังบอกข่าวร้ายแก่จางเหลียงและบอกให้จางเหลียงรีบหนีไป จางเหลียงกล่าวว่า “ฮั่นหวาง (หลิวปัง)คือเจ้าชีวิตของข้า ตอนนี้ศัตรูปิดทางล้อมไว้หมด ตอนนี้ชิวิตฮั่นหวางอยู่ในอันตราย ถ้าข้าพเจ้าหนีไปจะเป็นคนมีคุณธรรมได้อย่างไร ถ้าจะไปจำเป็นต้องไปบอกลาหลิวปังก่อน ดังนั้นจางเหลียงจึงไปที่ค่ายของหลิวปังเล่าเรื่องราวรายละเอียดต่างๆที่ทราบจากเซี่ยงป๋อให้หลิวปังฟังทั้งหมด หลิวปังฟังแล้วตกใจถามจางเหลียงควรจะทำยังไงดี จางเหลียงไม่ตอบคำถามกลับถามกลับหลิวปังว่า “ท่านคิดว่ากองทัพของเราจะต่อต้านกองทัพฉู่ของเซี่ยงหยี่ได้ไหม” หลิวปังตอบแบบอาลัยตายอยากว่า “แน่นอนไม่มีทาง แต่เราได้ก้าวล่วงมาถึงเพียงนี้แล้ว เราจะทำอย่างไร” จางเหลียงจึงคิดหาวิธีไม่ให้กองทัพของเซี่ยงหยี่โจมตีกองทัพของหลิวปัง ในการบรรลุเป้าหมายครั้งนี้เซี่ยงป๋อจะเป็นตัวแปรสำคัญ พิจารณาจากสถานการณ์ในตอนนั้นจางเหลียงออกความคิดง่ายๆให้หลิวปังไปบอกแก่เซี่ยงป๋อว่า หลิวปังไม่มีวันทรยศต่อเซี่ยงหวาง (เซี่ยงหยี่หลิวปังถามว่า เซี่ยงป๋อกับจางเหลียงใครแก่กว่ากัน จางเหลียงตอบว่า เซี่ยงป๋อแก่กว่าตนไม่กี่ปี หลิวปังกล่าวแก่จางเหลียงให้ไปเชิญเซี่ยงป๋อเข้ามาและตนจะปฎิบัติกับเซี่ยงป๋อเหมือนพี่น้อง จางเหลียงจึงไปเชิญเซี่ยงป๋อเข้ามาพบหลิวปัง  หลิวปังรินเหล้าคารวะเซี่ยงป๋อสามจอก จากนั้นก็นั่งดื่มเหล้ากันหลังจากเมาได้ที่ หลิวปังแกล้งกล่าวว่า “เมื่อทัพข้าผ่านด่านเข้ามาพยายามที่จะทำร้ายผู้คนให้น้อยที่สุดทุกๆอย่างมีรายงานหมด สมบัติของราชวงศ์ฉินก็เก็บรักษาอย่างดีเพื่อรอเวลาส่งมอบให้เซี่ยงหวาง ด่านหานกู่กวนข้าพเจ้าจัดส่งทหารไปเฝ้ารักษาเพื่อป้องกันศัตรูจากที่อื่นบุกรุกเข้ามาและป้องกันเหตุสุดวิสัยหรืออันตรายที่มองไม่เห็น ข้าพเจ้าเฝ้ารอคอยการมาถึงของเซี่ยงหวางทั้งวันและคืน ดังนี้ข้าพเจ้าจะทรยศต่อเซี่ยงหวางหรือ เรียนท่านช่วยนำคำพูดของข้าพเจ้ารายงานต่อเซี่ยงหวาง ข้าพเจ้าไม่กล้าที่จะทรยศต่อเซี่ยงหวางผู้ยิ่งใหญ่” เมื่อพูดจบ เซี่ยงป๋อเชื่อว่าเป็นความจริงบอกกับหลิวปังว่า วันพรุ่งนี้ให้หลิวปังเตรียมการแต่เช้าเพื่อมากล่าวขอโทษแก่เซี่ยงหยี่ จากนั้นเซี่ยงป๋อกลับไปที่หงเหมินเข้ารายงานและถ่ายทอดคำพูดของหลิวปังแก่เซี่ยงหยี่อย่างละเอียด เหตุการณ์ตึงเครียดจึงผ่อนคลายลง

การเดินทางไปหงเหมินเป็นความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง หลิวปังรู้อยู่แก่ใจการเดินทางครั้งนี้คือการเดินทางนำตัวเองไปเข้าปากเสือและอันตรายเป็นอย่างยิ่ง แต่ไม่สามารถไม่ไปเป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก จางเหลียงวิเคราะห์สถานการณ์อย่างเฉียบคมแบบรู้เขารู้เรา วิเคราะห์เซี่ยงหยี่อย่างลึกซึ้งให้หลิวปังฟังตัดสินใจเดินทางเข้าปากเสือ คิดแบบรอบคอบและยืดหยุ่นเพื่อปกป้องความปลอดภัยให้หลิวปัง

วันรุ่งขึ้นหลิวปัง จางเหลียง ฟ่านไขว้ และทหารอีกร้อยกว่าคนขับม้ามุ่งสู่ค่ายของทัพฉู่ หลิวปังปะหน้าเซี่ยงหยี่รีบกล่าวทักทายว่า “คำนับท่านจอมทัพ ท่านจอมทัพโจมตีฉินที่เหอเป่ย ส่วนข้าน้อยสู้ศึกฉินที่เหอหนาน ข้าน้อยโชคดีที่สามารถผ่านด่านเอาชนะฉินได้ก่อน จึงมีวาสนาได้พบปะกับท่านจอมทัพ ครั้งนี้มีคนใส่ร้ายข้าน้อยเพื่อให้เราทั้งสองเป็นศัตรูกัน” เซี่ยงหยี่เห็นหลิวปังนำทหารมาเพียงร้อยคนเพื่อร่วมงานเลี้ยง แล้วยังแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่คิดหนีไปไหน จึงโพล่งออกไปว่า “เรื่องทั้งหมดนี้เป็นเฉาอู่ซาง (曹无伤) รายงานให้ข้ารู้ บอกว่าตอนเจ้าอยู่ที่ด่านกวนจงคิดอยากเป็นกษัตริย์จริงหรือเปล่า ไม่อย่างนั้นข้าจะเป็นกษัตริย์แทน” หลิวปังพยายามที่แสดงออกเพื่อเอาชนะใจของเซี่ยงหยี่ เซี่ยงหยี่รู้จักหลิวปังเป็นครั้งแรกและรู้จักเขาเพียงคร่าวๆ นำหลิวปังเข้าสู่ห้องจัดเลี้ยงโดยมีความรู้สึกที่ไม่เป็นมิตรและไม่ไว้วางใจ

เซี่ยงหยี่กักตัวหลิวปังไว้เป็นเพื่อนดื่มกับตน ระหว่างการต้อนรับกุนซือของเซี่ยงหยี่ นามว่า ฟ่านเจิน (范增) คอยแนะนำและกำกับเซี่ยงหยี่ ให้เซี่ยงหยี่ทวงพระราชลัญจรของราชวงศ์ฉินและแนะนำให้เซี่ยงหยี่ตัดสินใจฆ่าหลิวปัง เซี่ยงหยี่ลังเลใจที่จะลงมือ ฟ่านเจินจึงเรียกเซี่ยงจวง (项庄) ออกมารำดาบเพื่อให้งานเลี้ยงมีความสนุกสนานและรอโอกาสฆ่าหลิวปัง เซี่ยงป๋อเห็นท่าไม่ได้กาลจึงออกมารำดาบร่วมกับเซี่ยงจวงเอาตัวเองบังหลิวปัง จางเหลียงเห็นสถานการณ์เลวร้ายจึงออกไปตามฟ่านไขว้มาช่วยป้องกันหลิวปัง ฟ่านไขว้ไม่พูดอะไรหยิบดาบถือโล่ห์เข้าไปในงานเลี้ยงเดินตรงไปคุ้มกันหลิวปัง ตาทั้งสองจ้องไปที่เซี่ยงหยี่ ผมเฝ้าลุกชูชันอย่างกล้าหาญ เซี่ยงหยี่ตกใจถามไปว่า “มันผู้นั้นคือใคร” จางเหลียงตอบกลับไปว่า “คือ องครักษ์พิทักษ์หลิวปัง ชื่อว่า ฟ่านไขว้” เซี่ยงหยี่ กล่าวว่า “สมเป็นลูกผู้ชายนำเหล้าให้เขาหนึ่งจอก” ผู้ติดตามทั้งหมดยืนขึ้นพร้อมถือเหล้าคนละจอกใหญ่ ฟ่านไขว้ยืนขึ้นและเชิญทุกคนดื่ม ครั้งแล้วครั้งเล่า จากนั้นพูดตรงสู่เซี่ยงหยี่ว่า “ความตายไม่อาจหลีกเลี่ยง แต่จอกเหล้าเท่านั้นที่รักษาเหล้าได้” แล้วตะโกนสรรเสริญพรรณาการสร้างผลงานของหลิวปังรวมทั้งความซื่อสัตย์เพื่อไม่ให้เซี่ยงหยี่แคลงใจ เซี่ยงหยี่ถูกตีด้วยความจริงจึงเงียบ เพียงแค่สั่งให้ฟ่านไขว้นั่งลงฟ่านไขว้จึงเดินไปนั่งลงใกล้ๆจางเหลียง หลิวปังเห็นสถานการณ์ดีขึ้นจึงออกอุบายไปเข้าห้องน้ำกับฟ่านไขว้ และให้จางเหลียงตามหลังออกมา ทั้งสามคนถกเถียงและวางแผนกันโดยให้ฟ่านไขว้คุ้มกันหลิวปังกลับไปยังค่ายและให้จางเหลียงอยู่ต่อแก้สถานการณ์

หลิวปังขึ้นรถม้าหนีไปโดยมีฟ่านไขว้และนายทหารอีกสี่คนคอยคุ้มกันออกเดินทางอย่างเงียบๆทางเขาจิ้นหลิงซัน (经骊山) ผ่านจื่อหยาง (芷阳) กลับไปยังค่ายของตนปล่อยให้จางเหลียงอยู่ในถ้ำเสือจัดการกับเซี่ยงหยี่ หลังจากคำนวณเวลาแล้วว่าหลิวปังได้กลับถึงค่ายตนแล้ว จางเหลียงจึงเข้าไปรายงานต่องานเลี้ยงว่า หลิวปังดื่มเหล้าไม่เก่ง แต่ไม่อาจปฎิเสธการดื่มจึงเมาและขอลากลับไปก่อน ดังนั้นจางเหลียงจึงขอมอบหยกขาวหนึ่งคู่แก่เซี่ยงหวาง และหยกอีกคู่มอบให้แก่ฟ่านเจิน เซี่ยงหยี่รับมอบหยกขาวอย่างไม่พอใจเพราะแผนที่คิดไว้ผิดพลาด ฟ่านเจินโมโหมากขว้างหยกลงกับพื้นแตกละเอียด กล่าวด้วยความโกรธว่า “โอ้..ไอ้หลานชาย (竖子 สู้จื่อ,เป็นคำเรียกเซี่ยงหยี่ที่ฟ่านเจินแสดงความไม่พอใจที่มาช่วยเหลือ)เจ้าไม่คู่ควรต่อการร่วมมือกันเลย คู่ต่อกรของเจ้าที่ฟ้าส่งมาก็ คือ หลิวปัง พวกเราทั้งหมดจะต้องนับมันเป็นศัตรู”

จางเหลียงใช้ภูมิปัญญาและความกล้าหาญในการต่อสู้ระหว่างความเป็นและความตายครั้งนี้ในการช่วยหลิวปังให้รอดพ้นจากปากเหยี่ยวปากกา และยังสร้างความขัดแย้งภายในให้แก่กองทัพฉู่ของเซี่ยงหยี่ แต่หลิวปังต้องยกเมืองเซียนหยางให้แก่เซี่ยงหยี่

 

การขับเคี่ยวระหว่างหลิวปังและเซี่ยงหยี่

ราชวงศ์ฮั่นปี 206 ก่อนคริสต์ศักราช เดือนมกราคม เซี่ยงหยี่ข่มขู่ฉู่ห่วยหวางสถาปนาตัวองขึ้นเป็นซีฉู่ป้าหวาง (西楚霸王,ฌ้อป้าอ๋อง) ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่เพิ๋งเฉิง (彭城, ปัจจุบันคือเมืองสวี่โจว徐州ในมณฑลเจียงซู) บริหารราชการโดยถงเสียเหลียง (统辖梁)และ ฉูจิวจวิน (楚九郡) จัดสรรกำลังพลแบ่งดินแดนออกเป็น 18 แห่งให้หวางแต่ละคนครอบครองดูแล ผลักดันฉู่ห่วยหวาง (楚怀王) ผู้ซึ่งออกคำสั่งว่า “ผู้ใดสามารถเข้ากวนจงและยึดได้สำเร็จผู้นั้นได้เป็นกษัตริย์”เป็นฝ่ายตรงข้าม ผลักดันหลิวปังไปตั้งมั่นในถิ่นทุรกันดารห่างไกล ตั้งตัวเป็นฮั่นหวาง เซี่ยงหยี่แบ่งพื้นที่กวนจงออกเป็น 3 ส่วน แบ่งให้ฉินซึ่งหมดอำนาจส่วนหนึ่ง และทางเหนือยกให้หลิวปัง หลิวปังแค้นใจมากและต้องการยกทัพโจมตีเซี่ยงหยี่ แต่หลังจากปรึกษากับเซียวเหอ และจางเหลียงแล้วตัดสินใจที่จะอดทนเพื่อทำการใหญ่ในภายหน้า

เมื่อชตากำหนดจางเหลียงตัดสินใจอำลาหลิวปังเพื่อกลับไปทำงานให้แก่หานหวางเฉิงเจ้านายเก่า หลิวปังมอบทอง 100 เหรียญและหยกสองกล่องเป็นการขอบคุณจางเหลียง จางเหลียงนำสมบัติทั้งหมดไปมอบให้เซี่ยงป๋อเพื่อขอร้องให้ทัพหลิวปังเดินทางไปดินแดนฮั่นอย่างปลอดภัย เซี่ยงป๋อผู้ไม่มีหลักการจึงเข้าไปพูดโน้มน้าวเซี่ยงหยี่ ด้วยวิธีนี้ทัพของหลิวปังจึงรอดพ้นจากการทำลาย

หลิวปังหลบไปสร้างเมืองอยู่ที่หนานเจิ้น (南郑,ปัจจุบัน คือเขตหนานเจิ้งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลส่านซี) ครอบครองพื้นที่เทือกเขาฉิ๋นหลิง (秦岭)จนถึงหนานปา (南巴) แบ่งเขตปกครองเป็น 3 ส่วน

เดือนกรกฎาคมปีเดียวกันจางเหลียงส่งหลิวปังไปที่เป่าจง (褒中,ปัจจุบัน คือ เป่าเฉิง褒城) ทำเลที่นั่นเป็นภูเขาล้อมรอบด้วยหน้าผาเป็นทางเดินลาดชันต้องเดินด้วยเท้าอย่างเดียวไม่มีทางอื่น จางเหลียงมาสังเกตการเดินทัพของหลิวปัง เสนอให้เผาทำลายหนทางเข้าสู่ที่ตั้งให้หมดเพื่อเป็นการแสดงให้เซี่ยงหยี่เห็นว่าไม่สนใจแผ่นดินทางทิศตะวันออกแล้วและไม่ให้เซี่ยงหยี่สงสัยและยังเป็นการป้องกันการโจมตีอย่างดี ทำเช่นนี้เพื่อเป็นการพักทัพสะสมกำลังเพื่อรอโอกาสทำการใหญ่ต่อไปในภาคหน้า หลิวปังทำตามคำแนะนำของจางเหลียงด้วยสมองเดียวของจางเหลียงนี้เป็นเครื่องรับประกันว่า การรวบรวมกำลังพลครั้งนี้จะเป็นการพัฒนาและพิชิตแผ่นดินตะวันออกได้ในอนาคต หลิวปังหลังจากเป็นฮั่นหวางทำตัวเป็นผู้อภิบาลที่ดีและมีความตั้งใจอย่างเหลือเฟือในการทำการในอนาคต เดือนสิงหาคมปีเดียวกันหลิวปังได้หานซิ่นมาเป็นขุนพลใหญ่ป้องกันการโจมตีของหวางจางหาน (王章邯) ที่จะบุกเข้ามาทางเส้นทางเก่าอ้านตู้เฉินชาง (暗渡陈仓,ปัจจุบัน คือ เขตเป่าจี宝鸡 ในมณฑลส่านซี) เอาชนะทัพของหยงหวางจางหาง (雍王章邯)อย่างคาดไม่ถึง ชนะศึกซ่ายหวางซิอม่าชิน (塞王司马欣)และตีหวางต่งอิ้ (翟王董翳) คืบคลานเข้ามายึดดินแดนซานฉิน(三秦)ดินแดนสำคัญของกวนจง หลิวปังเข้ายึดดินแดนซานฉินในกวนจงเพิ่มขึ้นเรื่อยจนสามารถขึ้นมาด่อกรกับเซี่ยงหยี่ จางเหลียงร่วมมือกับหานซิ่นเอาชนะสงครามสร้างเหตุการณ์บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์จีนที่น่ายกย่องอย่างมากมาย

เซี่ยงหยี่ทราบข่าวหลิวปังหวลกลับเข้ามายึดซานฉินโกรธเป็นอย่างยิ่งสั่งจัดทัพออกไปโจมตี จางเหลียงคาดการไว้แต่แรกจึงส่งหนังสือถึงเซี่ยงหยี่ ฮั่นหวางนามนี้ยังอยู่ เข้าสู่กวนจง ถ้ากลัวตายคงไม่กล้ามุ่งสู่ตะวันออก” ในขณะเดียวกันจางเหลียงส่งฉีหวาง(หานซิ่น)ไปบอกข่าวแก่เซี่ยงหยี่ว่า “ทัพฉีรวมเป็นพันธมิตรกับทัพจ้าวเพื่อทำลายทัพฉู่ ศัตรูของภัยพิบัติในปัจจุบันนี้อย่างไม่มีทางเลือก” ความมุ่งมั่นของทัพฉู่ให้ความใส่ใจในดินแดนทิศตะวันออก เซี่ยงหยี่พิจารณาแล้วไม่ใส่ใจในดินแดนทิศตะวันตก การมุ่งทางเหนือตีทัพฉีในดินแดนนี้ไม่คุ้มค่า จดหมายของจางเหลียงช่วยเพิ่มไฟแห่งสงครามทำให้เซี่ยงหยี่มุ่งสนใจแต่ด้านทิศตะวันออก ทำให้การระวังในกวนจงลดลงเพียงพอต่อหลิวปังที่จะเอาชนะเวลาเพื่อเสริมสร้างกองกำลังให้เข้มแข็ง

ในไม่นานเซี่ยงหยี่สังหารหานหวางเฉิงซึ่งเป็นนายเก่าของจางเหลียงที่เพิ๋งเฉิง ฤดูหนาวปีเดียวกันจางเหลียงหลบหนีทัพฉู่จากเพิ๋งเฉิงไปอาศัยอยู่กับฝ่ายหลิวปังอีกครั้ง เป็นเสมียนติดตามหลิวปังอยู่กับหลิวปังทั้งวันทั้งคืนในที่สุดเป็นที่ปรึกษาวางแผน หมิงหลี่จิ (李贽曾) แห่งราชวงศ์หมิงให้ความเห็นว่า “การลงมือของเซี่ยงหยี่ทำให้ที่ปรึกษาชั้นดีหนีจากฉู่ไปอยู่ฮั่น การที่เซี่ยงหยี่ฆ่าหานหวางเฉิงช่วยให้หลิวปังก่อการใหญ่สำเร็จ

ฤดูใบไม้ผลิราชวงศ์ฮั่น ปี 205 ก่อนคริสต์ศักราชหลิวปังได้รับกำลังพลจากหวางทั้งห้า มี ฉางซันหวางจางเอ่อ (常山王张耳) เหอหนานหวางเฉิ่นหยาง (河南王申阳) หานหวางฉ่าง (韩王昌) เว่ยหวางเป้า (魏王豹) และ หยินหวางอ๋าง (殷王卬) 5 ทัพ มีกำลังพล 560,000 คน เดือนเมษายนปีเดียวกันหลิวปังยกพลเข้าโจมตีทัพเซี่ยงหยี่อย่างหนักหน่วงทำลายเมืองเพิ๋งเฉิน

สำหรับเพิ๋งเฉินหลิวปังมีชัยชนะแบบง่ายดาย แต่การวางมาตรการทางการปกครองที่ไม่เหมาะสมและการควบคุมเรื่องเศรษฐกิจที่ไม่ดีซึ่งไม่สามารถชนะใจประชาชน ประกอบกับนิสัยเลวกำเริบเข้าบุกยึดทรัพย์สินสมบัติ ฉุดล่วงเกินสาวงาม ดื่มเหล้าทั้งวันทั้งคืน ในที่สุดเป็นโอกาสให้เซี่ยงหยี่ยกทัพกลับไปเอาชนะ เซี่ยงหยี่ทราบข่าวเพิ๋งเฉินในฤดูใบไม้ร่วงจึงจัดทัพ 30,000 คนเดินทางไปทางลัดเพื่อช่วยเพิ๋งเฉิน ทัพหลิวปังซึ่งมีกำลังเป็นแสนมาจากร้อยพ่อพันแม่ซึ่งเป็นการยากที่จะบังคับบัญชาและประสานงานกันแม้แต่เตรียมความพร้อมในการรบ ดังนั้นจึงถูกทัพฉู่ทำลายพ่ายแพ้เกือบวินาศ เมื่อมาถึงจุดนี้หวางเจ้าครองเมืองส่วนใหญ่เมินหลิวปังกลับไปคบหาคารวะเซี่ยงหยี่ หลิวปังทิ้งบิดา ภรรยาและลูกๆของเขาเพียงพาจางเหลียงหลบหนีไปด้วยกันอย่างหวาดกลัว กองทัพฮั่นต้องพ่ายแพ้ถอยกลับไปอีกครั้ง สถานการณ์เปลียนแปลงเป็นตรงข้าม

หลิวปังคลานหนีตายไปเมืองหน้าทั้งตกใจ อับอายและสิ้นหวัง พูดออกมาอย่างหมดหวังว่า “ดินแดนกวนจงข้าไม่ต้องการแล้ว ใครมีความสามารถกำจัดฉู่ ข้าจะยกดินแดนให้ พวกเจ้าเห็นใครมีความสามารถบ้างไหม” ในช่วงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานนี้จางเหลียงใช้ความคิดอันหลักแหลมของเขาเสนอแก่หลิวปังให้ใช้ความขัดแย้งทางทหารเป็นกลยุทธในการพิชิตฉู่ เขากล่าวว่า “จิ่วเจียงหวางอิงปู้ (九江王英布) คือ นักรบจากแคว้นฉู่ แต่กับเซี่ยงหยี่ก็ยังมีระยะห่าง การศึกที่เพิ๋งเฉินเซี่ยงหยี่มาช่วยแต่หยุดทัพและเฝ้าคอย เซี่ยงหยี่ทำให้เขาแค้นใจ หลายครั้งแล้วที่ทั้งสองมีคดีต่อกัน เพิ๋งเฉินตอนที่เซี่ยงหยี่ปกครอง ไม่มีอะไรดี เขาไม่พอใจเซี่ยงหยี่ตั้งแต่ต้น แล้วยังมีเฉ่ยเถียนหรง(且田荣) ผู้เป็นปฎิปักษ์ต่อฉู่ได้ลอบติดต่อกับกบฎเมืองเพิ๋งเฉินเนื่องจากเซี่ยงหยี่ได้ทำร้ายเซียวกงจนขาหักซึ่งไม่เป็นผลดีเลย คนสองคนนี้ท่านสามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ลูกน้องของฮั่นหวางมีแต่เพียงหานซิ่นเท่านั้นที่สามารถมอบหมายให้ทำการใหญ่ได้ควรมอบหมายให้เป็นผู้นำ ฮั่นหวางถ้าสามารถมอบหมายและใช้งานสามคนนี้ได้ เราสามารถกำจัดฉู่ได้” นี้เป็นประโยคที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์มีชื่อว่า เซี่ยอี่จือโหมว (下邑之谋)

หลิวปังได้ฟังได้คิดว่ามันเป็นเคล็ดลับของศิลปอ่อนสยบแข็ง ดังนั้นจึงส่งเสอเปี้ยนหมิง (舌辩名) ไปคารวะจิ่วเจียงหวางคอยยุแหย่จิ่วเจียงหวางอิงปู้ให้ผิดใจกับเซี่ยงหยี่ จากนั้นแต่งตั้งคนไปติดต่อกับกบฎที่เมืองเพิ๋งเฉิน ในเวลาเดียวกันแต่งตั้งหานซิ่นยกทัพไปทางเหนือตีแคว้นเหยี้ยน แคว้นจ้าวและสถานที่ต่างๆเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ทหารฮั่นและขยายดินแดน จากนั้นค่อยกลับมาตีฉู่

ภายใต้แผนการ เซี่ยอี่จือโหมว ถึงแม้จะไม่ใช่แผนยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุม แต่ถือว่าเป็นแผนสำคัญของหลิวปังในการทำสงครามฉู่ฮั่น จริงแท้มันคือแผนของจางเหลียง เป็นแผนประสานกันทั้งภายในภายนอกรวบรวมพันธมิตรเข้าตีเซี่ยงหยี่ ในที่สุดเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การรบระหว่างฉู่และฮั่นจากยุทธศาสตร์การรับของหลิวปังกลายเป็นยุทธศาสตร์การรุก แผน เซี่ยอี่จือโหมว เป็นการพิสูจน์แล้วว่านี่คือการมองการณ์ไกลของจางเหลียง ในที่สุดกองทัพพันธมิตรฮั่นโอบล้อมทัพฉู่ตีเซี่ยงหยี่จนพ่ายแพ้ ส่วนใหญ่ใช้กำลังสามกองพลในการทำการ

ปีที่ 3 ราชวงศ์ฮั่น 204 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในฤดูหนาวกองทัพฉู่ล้อมกองทัพฮั่นที่อิ่งหยาง (荥阳) ทั้งสองทัพยืนทัพไม่ออกรบ ทัพฉู่ตัดทอนเสบียงอาหารและช่องทางสนับสนุนทางทหารของทัพฮั่น กองทัพฮั่นขาดเสบียงอาหารอย่างหนักอยู่ในสถานการณ์วิกฤต ฮั่นหวางหลิวปังกระวนกระวายใจถามหาคำแนะนำที่ดีจากหลี่สือฉี (郦食其) หลี่สือฉีแนะนำว่า “อดีตกษัตริย์เซี่ยเจ๋ย (夏桀)จัดการกับกษัตริย์ฉีภายหลังเพราะประพฤติตนไม่เหมาะสม กษัตริย์อู๋แห่งโจวกำจัดกษัตริย์โจวแห่งชางเหตุผลเช่นเดียวกัน กลายเป็นเพลงร้องต่อกันมา กษัตริย์ฉินประพฤติตัวไม่มีคุณธรรมจากนั้นก็ถูกกำจัด ออกจากบ้านเกิดเพื่อแสวงหาแผ่นดินใหม่ เมื่อท่านรวบรวมประเทศสำเร็จหลังจากแบ่งแยกเป็นหกแคว้น หกแคว้นจะคารวะท่าน ประชาชนจะนับถือกษัตริย์ของเขา ไม่กล้าทวนกระแสความชอบธรรม ยอมรับราชินีของเขา และสิ่งที่กษัตริย์ของเขากระทำ เมื่อท่านมุ่งลงใต้จงให้อภัยประชาชนฉู่จะได้ดำเนินชีวิตต่อไป” ในความจริงนี่คือสำนวน “อิ่งเจิ้นจือเค่อ” (饮鸩止渴,ดื่มยาพิษเพื่อดับกระหาย)ในห้วงเวลานั้นหลิวปังมองไม่เห็นอันตรายของสำนวนนี้ หลิวปังปรบมือและสั่งให้คนสลักตราลัญจรของหกแคว้นขึ้นโดยเร็ว

ในเวลาสำคัญนี้จางเหลียงเข้าพบหลิวปัง ขณะนั้นหลิวปังนั่งทานข้าวไปด้วยและถามจางเหลียงไปด้วยถึงการดำเนินตาม อิ่งเจิ้นจือเค่อ จางเหลียงได้ฟังนั่งทางข้าวและถาม “ใครเป็นผู้เสนอแนวทางนี้ต่อท่าน” จางเหลียงส่ายหัวและกล่าว่า “การปฎิบัติเช่นนี้ การงานใหญ่ของท่านจะเสีย” หลิวปังตกใจถามว่า “ทำไม” จางเหลียงหยิบตะเกือบคู่หนึ่งวางบนโต๊ะกินข้าวเหมือนจะกั้นแบ่งเขต กล่าวว่า “ข้อแรกอดีตกษัตริย์เซี่ยเจ๋ย โจวอู๋หวาง (周武王) เมื่อก่อนสละราชบังลังค์แต่งตั้งตำแหน่งให้ลูกหลานทั้งหมดซึ่งการกระทำแบบนี้สามารถควบคุมได้ทั้งหมด ถ้าจำเป็นสามารถลงโทษประหารแก่ลูกหลานหรือบุคคลที่แข็งข้อได้ แต่ตอนนี้ท่านสามารถควบคุมเซี่ยงหยี่ได้แล้ว ถ้าจำเป็นท่านจะประหารเขาไหม ข้อสอง อดีตกษัตริย์โจวอู๋หวางสวรรคตแล้วจัดวางตำแหน่งและช่องทางประตูเข้าออกหลุมฝังศพ ประกาศปล่อยนักโทษ มีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นและจูงใจข้าราชบริพาร ในตอนนี้ฮั่นหวางจำเป็นต้องทำแบบนั้นไหม ข้อสาม เงินของอู๋หวางซึ่งนำมาซื้อเสบียงอาหารบรรเทาให้ราษฎรเป็นเงินของศัตรู ตอนนี้เงินของทัพฮั่นก็ไม่มีแล้วจะเอาอะไรมาซื้อเสบียงอาหารบรรเทาความหิวโหยให้แก่กองทัพ ข้อสี่ หลังจากอู๋หวางสวรรคต รถศึกเปลี่ยนเป็นรถโดยสาร อาวุธสงครามสับเปลี่ยนเท่าที่จำเป็น ตอนนี้ท่านติดภาระสงครามอย่างเร่งด่วนท่านจะทำอย่างไร ข้อห้า ในอดีตสามารถขี่ม้าไปเที่ยวอาบแดดที่หนานซัน (南山) วัวควายก็พักผ่อนใต้ต้นไม้เรียงรายเป็นเพราะว่าแผ่นดินมีความสงบร่มเย็น แต่ตอนนี้แผ่นดินลุกเป็นไฟการต่อสู้ไม่สิ้นสุด จะมัวมาทำไร่ไถนาได้อย่างไร ข้อหก ถ้าหากนำแผ่นดินมาแบ่งให้แก่ลูกหลานของเจ้าแคว้นต่างๆทั้งหกแคว้น แล้วทหารและประชาชนกลับไปแคว้นตนเอง ไม่มีใครมาเป็นพวกหลิวปังเพื่อต่อสู้ในสงครามหรอก ข้อเจ็ด กองทัพฉู่เข้มแข็ง กองทัพหกแคว้นอ่อนแอจำเป็นที่จะยอมจำนน แล้วทำไมพวกเขาต้องมายอมจำนนต่อท่านละ”

การวิเคราะห์ของจางเหลียงอย่างละเอียด ปราณีตและตีตรงเป้าหมาย เขาเห็นสถานการณ์ของอดีตและปัจจุบันแตกต่างกันไป การที่จะได้รับชัยชนะไม่สามารถลอกจากข้อสรุปของเหตุการณ์ในอดีตทั้งหมดมาใช้ มันเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะจางเหลียงเข้าใจในระบบการแต่งตั้งตำแหน่งเป็นวิธีที่น่าสนใจในการสร้างบรรทัดฐานของแรงจูงใจ การให้รางวัลและตำแหน่งหน้าที่ในยามสงครามเพื่อให้ทหารปฎิบัติตามคำสั่งของฮั่นหวาง เป็นมาตรการสำคัญที่รักษาน้ำใจของทหารให้อยู่กับผู้นำ ถ้ากระทำด้วยวิธีอื่นจะสามารถรักษาน้ำใจทหารได้ไหม จางเหลียงวิเคราะห์โดยยกเหตุการณ์ในอดีต เปรียบเทียบกษัตริย์ในอดีตกับหลิวปัง อธิบายแผนการต่างๆให้หลิวปังเข้าใจอย่างชัดเจนรวมทั้งความคิดทางการเมืองในประวัติศาสตร์จีนในอดีตที่ดำรงอยู่และฉากสำคัญในอดีต ไม่น่าแปลกใจเลยว่า 1,700 ปีผ่านมา หลี่จื่อฉิน (李贽情) สมัยราชวงศ์หมิงอดใจตนเองไม่ได้ที่จะสรรเสริญจางเหลียงในการวิเคราะห์ครั้งนี้ เรียกว่า ไขว้หลุ้น (快论)

การวิเคราะห์อย่างละเอียดของจางเหลียงทำให้หลิวปังดวงตาเห็นธรรม มองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์หยุดกินข้าวทันทีและเรียกหลี่สือฉีมาด่า “หลี่สือฉี ไอ้นักวิชาการขงจื้อจอมปลอมเกือบทำข้าป่นปี้แล้ว” แล้วออกคำสั่งให้ทำลายตราลัญจรของหกแคว้นทิ้งโดยเร็วเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดของกลยุทธที่สำคัญในการทำการใหญ่ ลดปัญหาและการต่อต้านจากพันธมิตรที่มีต่อราชวงศ์ฮั่น จางเหลียงถือว่าเป็นนักวางแผนยุทธศาสตร์ที่เข้าใจในรายละเอียดและเป็นนักการเมืองที่มีวิสัยทัศน์

ในขณะที่หลิวปังถูกเซี่ยงหยี่ล้อมอยู่ที่อิ๋นหยาง หานซิ่นกำลังเดินทัพไปทางทิศเหนืออย่างราบรื่นเข้าไปสู่ดินแดนของข้าศึก เขาเริ่มยึดแคว้นต่างๆเริ่มจากแคว้นเว่ย (魏) แคว้นไต้ (代) แคว้นจ้าว (赵) แคว้นเหยี้ยน (燕) แล้วเข้ายึดดินแดนของแคว้นฉี (齐) ประกาศตนเองขึ้นเป็นฉีหวาง ส่งคนรายงานต่อหลิวปังว่า “ชาวฉีเป็นพวกเปลี่ยนแปลงเจ้าเล่ห์ สถานการณ์ที่นี่ไม่ค่อยมั่นคง ทางทิศใต้ก็ติดกับรัฐฉู่ ถ้าไม่แต่งตั้งเจ้าครองนครก็ยากที่จะปกครองรัฐฉี ดังนั้นได้โปรดแต่งตั้งตัวข้าให้เป็น ฉีหวาง

หลิวปังได้รับรายงานโมโหโกรธาเป็นอย่างยิ่งจนหน้าแดง ตะโกนด่าว่า “ข้าถูกล้อมอยู่ที่นี่มานานแล้ว คิดว่ามันจะมาช่วยข้าออกไป ไม่คิดว่ามันอยากจะตั้งตัวเป็นหวาง” เวลานั้นเฉินผิงเจิ้น (陈平正) นั่งอยู่ข้างหลิวปัง เฉินผิงเจิ้นและจางเหลียงตระหนักชัดเจนว่า การสนับสนุนของหานซิ่นเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินผู้ชนะสงครามระหว่างฮั่นและฉู่ นอกจากนี้หานซิ่นอยู่ไกลถึงแคว้นฉีประกาศตนเองเป็นหวาง หลิวปังไม่มีอำนาจและความสามารถที่จะขัดขวาง ดังนั้นเฉินผิงเจิ้นจึงขยับเท้าเบาๆไปเตะเท้าหลิวปัง หลิวปังเข้าใจทันทีมีปฎิกิริยาตอบสนองทันควันเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกและตะโกนด่าใหม่ว่า “ผู้ยิ่งใหญ่เกิดขึ้นแล้ว ตั้งตัวเองเป็นหวางตัวจริง แล้วทำไมจะป็นหวางตัวปลอมละ” หลิวปังนิสัยชอบด่าคน การด่าในครั้งนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกใจ นอกจากนั้นยังเป็นปฎิกิริยาธรรมชาติของหลิวปัง เป็นการปกปิดความไม่พอใจและความบกพร่องของหลิวปัง

เดือนกุมภาพันธ์ปีเดียวกันหลิวปังส่งจางเหลียงในฐานะตัวแทนไปแต่งตั้งหานซิ่นเป็นฉีหวาง และออกคำสั่งให้โจมตีรัฐฉู่ หานซิ่นฉีหวางแต่งตั้งใหม่ในขณะที่หลิวปังประนีประนอมต่อเขาแบบชั่วคราวเพื่อความง่ายและสะดวกในการหลอกใช้หานซิ่นในการประสบความสำเร็จในความขัดแย้งของการแย่งชิงอำนาจภายในของประเทศจีน เอาชนะเป็นต่อในสงครามฮั่นฉู่ ในรัชกาลฮั่นตะวันออกโกวเย่เฉิง (苟悦曾) ได้ประเมินสถานการณ์อย่างเป็นธรรมเขากล่าว่า “ถ้าปราศจากเขา(อ้างถึงหานซิ่นไม่ใช่หลิวปัง)เข้ามาร่วม คงไม่มีผลประโยชน์ต่างๆและชัยชนะที่น่าสรรเสริญ”เป็นการระบุถึงหานซิ่นโดยตรงซึ่งเป็นตัวแปรที่เป็นจุดเปลี่ยนของสงครามฮั่นและฉู่

ปีที่ 4 แห่งราชวงศ์ฮั่นเกาจู่ 203 ปีก่อนคริสต์ศํกราช กองทัพฉู่ตีวงโอบล้อมกองทัพฮั่น หานซิ่นนำทัพฉีเข้าตีทัพฉู่ เผิงเยว๋ (彭越)นำกำลังสมทบเข้าตีทัพฉู่เพื่อตัดทัพฉู่ออกจากกัน กองทัพฉู่อ่อนล้าเซี่ยงหยี่ดูเหมือนถูกตัดขาดอยู่ลำพัง เขารู้สึกสิ้นหวัง ในที่สุดเซี่ยงหยี่กลับไปนำพ่อแม่ เมียและลูกๆของหลิวปังที่จำขังไว้มาเป็นเครื่องต่อรอง ทั้งสองทัพตกลงกันได้ แบ่งอาณาเขตกันโดยทิศตะวันออกเป็นดินแดนของฉู่ และทิศตะวันตกเป็นดินแดนของทัพฮั่น ทำสัญญาถอนทัพกลับไปดั้งสงบอยู่ในดินแดนของแต่ละฝ่าย เซี่ยงหยี่กลับไปทางตะวันออกปักหลักอยู่ที่เพ๋งเฉิน หลิวปังนำทัพกลับสู่ตะวันตกปักหลักที่ฮั่นจง (汉中) ในห้วงเวลาเปลี่ยนถ่ายอำนาจนี้จางเหลียงซึ่งเป็นนักกลยุทธทางการเมืองมองเห็นภาพรวมอย่างลึกซึ้ง มองเห็นเซี่ยงหยี่มีศัตรูทั้งเบื้องหน้าและด้านหลัง อยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก จางเหลียงกับเฉินผิงจึงเข้าพบหลิวปัง “บัดนี้โลกได้แบ่งแผ่นดินเปลี่ยนจากสามเป็นสอง ตอนนี้เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะทำลายทัพฉู่ พวกเราทั้งหมดควรจะลงมือโดยทันที ไม่งั้นถ้าปล่อยให้ทัพฉู่กลับไปสู่ทิศตะวันออกได้เหมือนปล่อยเสือร้ายเข้าป่า ในอนาคตจะเป็นอันตรายต่อพวกเราแน่นอน”

หลิวปังรีบดำเนินการทันทีตามคำแนะนำของจางเหลียงยกทัพใหญ่ออกไล่ติดตามทัพฉู่ของเซี่ยงหยี่ ทั้งออกคำสั่งให้หานซิ่นและเผิงเยว่ยกทัพเข้าล้อมทัพเซี่ยงหยี่ หลิวปังนำทัพใหญ่ไล่ล่าทัพฉู่ไปจนตรอกอยู่ที่กู้หลิง (固陵,ปัจจุบัน คือ เขตไท่คัง太康มณฑลเหอหนาน) แต่เนื่องจากฮึกเหิมเกินไปไม่รอทัพของหานซิ่นและเผิงเยว่ที่ตามมาสมทบ การทำการครั้งนี้จึงล้มเหลว หลิวปังแอบซ่อนตัวอยู่ในแนวป้องกันแถวกู้หลิงเป็นกังวลใจอย่างมากเอ่ยถามจางเหลียงซึ่งอยู่ข้างกายว่า “ทำไมพวกมันไม่ยกทัพมาให้ทันเวลา”จางเหลียงรุ้แต่แรกแล้วว่าในใจของหานซิ่นและเผิงเยว่คิดอะไร เมื่อหลิวปังถามมาจึงตอบไปว่า “กองทัพฉู่จะพินาศ แม้ว่าตอนนี้ท่านตั้งหานซิ่นและเผิงเยว่เป็นหวาง(เจ้าครองนคร) แต่ท่านยังไม่กำหนดเลยว่าทั้งสองจะครอบครองดินแดนใด ที่ทั้งสองไม่มาตามเวลาเป็นเพราะเหตุนี้ ถ้าท่านยังไม่ออกพระราชสาส์นแบ่งดินแดนให้กับขุนพลทั้งสอง ไม่แน่ว่าเหตุการณ์จะเปลี่ยนไปจะสำเร็จหรือล้มเหลวยากที่จะคาดการ” หลิวปังยอมลดทิฐิมานะรีบดำเนินการตามข้อเสนอของจางเหลียงอย่างเร่งด่วน กำหนดให้ดินแดนของเฉินไปยังทิศตะวันออกจดดินแดนเหยี๋ยนไห่ (沿海) แถบชายฝั่งทะเลตะวันออกยกให้แก่ฉีหวางหานซิ่น (齐王韩信) ยกดินแดนสุ่ยหยาง (睢阳) ไปทางทิศเหนือจดดินแดนกู่เฉิน (谷城) ให้แก่เหลียงหวางเผิงเยว่ (梁王彭越) สองเดือนถัดมา หานซิ่นและเผิงเยว่จึงนำทัพมาสมทบ

ทหารฮั่นและพันธมิตรทั้งหมดมารวมพลกันที่กายเซี่ย (垓下,ปัจจุบัน คือ เขตหลิงปี้灵壁县ริมฝั่งแม่น้ำถัวเหอ沱河ฝั่งทิศเหนือ) หานซิ่นเป็นทัพแรกที่เข้าบุกทัพเซี่ยงหยี่โดยใช้กลยุทธ “สือเหมี้ยนม๋ายฟู” (十面埋伏,ปิดฟ้าล้อมดาว) ล้อมทัพของเซี่ยงหยี่ไว้ที่กายเซี่ยจากนั้นใช้แผน “สื่อเหมี้ยนฉู่เกอ” (四面楚歌,บรรเลงเพลงพื้นบ้านฉู่ทั้งสี่ทิศ) เพื่อทำลายขวัญกำลังใจของทหารฉู่ ในที่สุดสามารถพิชิตเซี่ยงหยี่และทำลายกองทัพฉู่ บังคับให้เซี่ยงหยี่เชือดคอตัวเองตายที่ริมฝั่งแม่น้ำ เมื่อมาถึงจุดนี้สงครามระหว่างฉู่ฮั่นซึ่งทำการรบกันมาเป็นเวลานาน 4 ปีก็จบสิ้นลง เป็นชัยชนะที่สมบรณ์แบบของหลิวปังในท้ายสุด

 

ยุคหลิวปังขึ้นครองราชบังลังค์ สถาปนาราชวงศ์ฮั่น

เดือนกุมภาพันธ์ ปีที่ 5 แห่งราชวงศ์ฮั่น 202 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลิวปังขึ้นครองราชบังลังค์สถาปนาราชวงศ์ฮั่น ทรงพระนามว่า “ฮั่นเกาจู่ฮ่องเต้” (汉高祖王帝,ฮั่นเกาจู่หวางตี้) เดือนพฤษภาคมปีเดียวกันฮั่นเกาจูฮ่องเต้จัดให้มีการเฉลิมฉลองการขึ้นครองราชย์ที่หนานกง(南宫) เมืองลั่วหยาง (洛阳) โดยมีการจัดงานเลี้ยงอย่างยิ่งใหญ่ ในระหว่างงานเลี้ยง ในระหว่างงานเลี้ยงในทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในครั้งนี้ต่างดื่มฉลองแสดงความยินดีซึ่งกันและกัน หลิวปังมีความยินดีอย่างยิ่งเมื่อสามารถกำจัดรัฐฉู่หายไปจากโลกนี้และฮั่นสามารถครอบครองประเทศได้ หลิวปังยกย่องสามบุคคลสำคัญที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ คือ เซียวเหอ จางเหลียง และ หานซิ่นเขายกวลีขึ้นมาเพื่อยกย่องจางเหลียงว่า “นโยบายส่งกำลังบำรุงเป็นม่านต่าข่าย ชนะศึกในแดนไกลที่ห่างเป็นพันๆลี้ คำพูดนี้แย่กว่ากึ๋นซะอีก (กึ๋นของจางเหลียง)”

หลังการก่อตั้งประเทศสำเร็จ และมีการตั้งเมืองหลวงซึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการหลอมรวมของราชวงศ์ฮั่นเพื่อรวบรวมความเป็นปึกแผ่นและการพัฒนาประเทศ ครั้งแรกฮั่นเกาจูหลิวปังอยากตั้งลั่วหยางให้เป็นเมืองหลวงตลอดไปและคณะรัฐมนตรีก็เห็นด้วย วันหนึ่งฉีโหลวจิ้ง (齐娄敬) มาเยี่ยมคำนับหลิวปัง กล่าวว่าดินแดนกวนจงกว่าท่านจะได้มาแสนลำบาก เหตุฉะไหนไม่ตั้งกวนจงเป็นเมืองหลวง หลิวปังลังเลใจ ส่วนรัฐมนตรีที่สนับสนุนตั้งลั่วหยางเป็นเมืองหลวงประกาศว่า การตั้งลั่วหยางเป็นเมืองหลวงมีประโยชน์ คนเหล่านี้คือผู้ปกครองเก่าของหกแคว้น เพื่อนเก่าที่ต่อสู้มาด้วยกัน ผู้ที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่นี่ แนะนำว่า “เมืองหลวงลั่วหยางสามารถมีอายุยืนหลายร้อยปี ทิศตะวันออกจดแดนเฉินเกา (成皋) ทิศตะวันตกมี เหยาหานเฉินสื่อ (肴函渑池, หมายถึงภูเขาเหยาและหุบเขาหานกู่) ด้านหลังติดแม่น้ำฮวงเหอ(黄河,แม่น้ำเหลือง หรือ Yellow River) ด้านหน้ามีแม่น้ำสองสาย คือแม่น้ำหลิงอี (临伊) และแม่น้ำหลัว (雒) ชัยภูมิเหมาะสมง่ายต่อการป้องกัน จางเหลียงและโหลวจิ้ง (娄敬)ต่างก็มีความเห็นเดียวกันแต่แตกต่างไปจากการเลือกลั่วหยางเป็นเมืองหลวง

จางเหลียงกล่าวว่า “ลั่วหยางเป็นชัยภูมิที่สามารถเอาชนะได้ยาก ศูนย์กลางเมืองมีขนาดเล็ก แต่ในรัศมีห่างออกไป 100 ลี้ เป็นดินแดนกันดารแห้งแล้ง และศัตรูสามารถบุกเข้ามาได้ทั้งสี่ทิศ โดยเฉพาะภัยคุกคามจากรัฐอู่จื้อกั๊ว (武治国) ส่วนกวนจงด้านซ้ายติดกับเทือกเขาเหยาหาน (肴函เป็นเทือกเขาต่อเนื่องกันของภูเขาเหยาและภูเขาหานกู่函谷 ปัจจุบัน คือ เทือกเขาทงกวน 潼关ในมณฑลส่านซีต่อเนื่องไปถึงเขตซินอัน新安ในมณฑลเหอหนาน) ด้านขวามีภูเขาหล่งซู่ฉงซัน (陇蜀丛山) แผ่นดินทั่วไปอุดมสมบูรณ์ บวกกับทางทิศใต้แผ่นดินอุดมเหมาะแก่การเกษตร ทิศเหนือมีทุ่งหญ้าเหมาะแก่การเลี้ยงวัวเลี้ยงม้า ชัยภูมิเหมาะแก่การป้องกันภัยจากทิศเหนือ ทิศใต้และทิศตะวันตก ทางทิศตะวันออกเหมาะแก่การควบคุมและปกครองหวางต่างๆ ท่านจะมีเสถียรภาพ อีกทั้งแม่น้ำฮวงเหอท่านสามารถเปิดการคมนาคมทางน้ำเพื่อขนส่งอาหารและอุปทานต่างๆเข้าสู่เมืองหลวงตามต้องการ ถ้าหากเหตุการณ์มีการเปลี่ยนแปลงท่านสามารถขนส่งอาหารและปัจจัยไปทางทิศตะวันออกได้อย่างสะดวกพอเพียงแก่การส่งเสบียงอาหารให้แก่กองทัพ นี่คือการป้องกันเมืองหลวงที่ดี เหมือนฟ้าประทานมาให้ คำกล่าวของโหลวจิ้งเป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง” การวิเคราะห์อย่างครอบคลุมของจางเหลียงรวมทั้งองค์ประกอบและปัจจัยต่างๆสร้างความมั่นใจให้แก่หลิวปังในการเลือกเมืองหลวง ดังนั้นฮั่นเกาจู่หลิวปังจึงตัดสืนใจทันทีเลือกกวนจงเป็นเมืองหลวง

เดือนมกราคมปีที่ 6 แห่งราชวงศ์ฮั่นหลิวปังประกาศแต่งตั้งรัฐบุรุษที่มีความดีความชอบรวม20คนรวมทั้งจางเหลียง ส่วนที่เหลือที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งได้มีการโต้เถียงขัดแย้ง มีการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกัน

วันหนึ่งหลิวปังประทับอยู่ที่ราชวังหนานกง เมืองลั่วหยาง นั่งบังลังค์สังเกตเห็นข้าราชบริพารกลุ่มละสามคนบ้าง กลุ่มละห้าคนบ้างนั่งซุบซิบกัน จึงถามจางเหลียงไปว่าพวกเขากำลังพูดคุยกันเรื่องอะไร จางเหลียงจงใจกล่าวเตือนแทงใจดำว่า “พวกเขากำลังซุบซิบเพื่อก่อการกบฎ” หลิวปังตกใจถามกลับไปว่า “ราชวงศ์พึ่งเริ่มต้น ทำไมพวกเขาถึงคิดการกบฎ” จางเหลียงตอบว่า “ท่านมาจากสามัญชน ใช้พวกเขาที่มีความสามารถเหล่านี้ทำการจนท่านชนะสงครามรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ตอนนี้ท่านได้เป็นกษัตริย์ แต่พวกคนที่ได้ความดีความชอบคือพวกคนที่ท่านชอบ ส่วนพวกที่ถูกประหารทิ้งคือพวกที่ท่านเกลียดชัง ตอนนี้เฉาจ่งเจิ้น (朝中正) กำลังวางแผนก่อกบฎ ถ้าหากท่านต้องแบ่งดินแดนให้แก่ทั้งหมด แผ่นดินทั้งหมดก็ไม่พอแบ่ง คนพวกนี้กลัวว่าท่านจะไม่แบ่งดินแดนให้กับเขา และกลัวว่าท่านจะหาเรื่องเอาผิดพวกเขา ในที่สุดพวกเขากลัวถูกประหาร พวกเขาจึงสุมหัวกันเพื่อก่อการกบฎ” หลิวปังรีบถามว่า “ถ้าอย่างนั้นข้าจะทำอย่างไรดี”จางเหลียงถามกลับว่า “ ท่านธรรมดาเกลียดเสนาบดีคนไหนมากที่สุด” หลิวปังตอบ “นั่นคือ หยงสือ (雍齿) ละ” จางเหลียงจึงกล่าวว่า “อย่างนั้นท่านต้องรีบแต่งตั้งหยงสือทันทีข้าราชบริพารคนอื่นเห็นหยงสือได้รับความดีความชอบ ทุกคนก็จะเบาใจ” ดังนั้นหลิวปังจึงแต่งตั้งหยงสือเป็นนายกรัฐมนตรีและจัดงานเลี้ยงฉลองให้เป็นการรักษาเสถียรภาพของอำนาจให้มั่นคง ข้าราชบริพารทั้งหลายเห็นเช่นนั้นต่างสบายใจต่างคนต่างรำพันว่า “ขนาดคนอย่างหยงสือยังได้ความดีความชอบ เช่นนี้แล้วเราไม่จำเป็นต้องกังวลใจละ” การเคลื่อนไหวของจางเหลียงไม่เพียงแต่แก้ไขข้อบกพร่องของหลิวปังในการแต่งตั้งคนจากความชอบส่วนตัว เล่นพวกหรือรับสินบนจากหลังบ้าน แต่ยังเป็นงานง่ายที่ช่วยลดความขัดแย้งเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สงบที่อาจเกิดขึ้น จางเหลียงซึ่งเป็นนักการเมืองที่เต็มไปด้วยกุศโลบายและเข้าถึงจิตใจประชาชนกลายเป็นตัวอย่างของนักการเมืองจีนรุ่นต่อไปในอนาคต

จางเหลียงมักอ้างตัวเองป่วยอยู่เสมอตั้งแต่ฮั่นเกาจู่หลิวปังย้ายไปอยู่กวนจงในช่วงต้นของราชวงศ์ฮั่น เขามักอ้างว่าตนเองป่วยและอาศัยอยู่ที่บ้านไม่ให้คนเข้าพบ หลังจากที่ราชบังลังค์ของหลิวปังมั่นคงขึ้นเรื่อยๆ จางเหลียงค่อยๆถอยห่างออกมาจากหลิวปังจากที่ปรึกษาพระมหากษัตริย์เป็นตัวแทนพระมหากษัตริย์จนในทีสุดกลับสู่สามัญชน

แล้วในช่วงต้นของราชวงศ์ฮั่นหลิวปังได้ปราบปรามคนที่เขาคิดว่าเป็นศัตรูต่อเขาหรือตีห่างจากเขาอย่างโหดร้ายทารุณ จางเหลียงได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผนน้อยมาก ในการแย่งชิงอำนาจทั้งในที่ลับและที่แจ้งในราชวงศ์ฮั่นตะวันตก จางเหลียงยังฝากคำสอนไว้ว่า“เลือดย่อมสำคัญกว่าน้ำ” (疏不间亲 ซูปู้เจียนฉิง)

ปีที่ 10 แห่งราชวงศ์ฮั่น 197 ปีก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์ฮั่นประสบกับวิกฤตการณ์ใหม่ หลิวปังได้เปลี่ยนองค์ชายที่จะขึ้นสืบราชบังลังค์ต่อจากเขา ในเวลานั้นหลิวปังรักและเอาใจมาดามฉี (戚夫人,ฉีฟู่เหริน) และรู้ว่าหลู่โฮ้ว (吕后,หลู่ฮวงโฮ้ว)มีใจไม่ซื่อตรงแอบมีใจให้กับหลิวเออหวาง (刘而王) จึงปลดองค์ชายเสี้ยวหุ่ย (太子孝惠ไท่จึเสี้ยวหุ่ย ลูกของหลู่ฮวงโฮ้ว) แล้วแต่งตั้งจ้าวหวางหรู่อี้ (赵王如意ลูกของมาดามฉี) เป็นมกุฎราชกุมารไว้สืบราชบังลังค์ต่อจากเขา คณะเสนาบดีทั้งหมดต่างไม่เห็นด้วยแต่ไม่มีใครเปลี่ยนใจหลิวปังได้หลู่โฮ้วเห็นว่าองค์ชายเสี้ยวหุ่ยลูกของตนโดนปลดจึงหันหน้าไปปรึกษาและขอความช่วยเหลือจากจางเหลียง จางเหลียงพิจารณาตำแหน่งของมกุฎราชกุมารเป็นตำแหน่งสำคัญไม่สมควรเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ยกคำพูดของปราชญ์ซู่ซุนทง (叔孙通) มากล่าว “มกุฎราชกุมารคือรากฐานราชวงศ์ ถ้าตำแหน่งมกุฎราชกุมารสั่นคลอนราชวงศ์ก็บั่นทอน” รวมทั้งราชวงศ์ฮั่นพึ่งก่อตั้งใหม่ รากฐานการปกครองของราชวงศ์ฮั่นยังไม่เข้มแข็ง ระบบต่างๆก็ยังไม่มั่นคง ตอนนี้เพียงแต่รักษาสถานะเดิมเท่านั้น ปกครองโดยไม่ทำอะไรเลยเป็นการฝืนธรรมชาติ ไฉนทำให้บ้านเมืองสงบได้ ควรที่จะปกป้องให้บ้านเมืองให้มีเสถียรภาพ เมื่อจางเหลียงนำคำพูดเหล่านี้บอกกล่าวแก่หลู่โฮ้ว

หลู่โฮ้วเอาลิ้นเป็นประกันต่อองค์ชายเสี้ยวหุ่ยว่า “ซางซัน (商山)มีสี่ขาว ( หมายถึงคนแก่ที่มีผมขาว 4 คน คือ ตงหยวนกง 东园公 ลูหลี่เซียนเซิน 甪里先生 ฉีหลี่หลี 绮里季 และ เซี่ยหวงกง 夏黄公) ทั้งหมดมีอายุกว่า 80 ปี มีคุณธรรมสูง ไม่ปรากฎชื่อในราชวงศ์ฮั่น หลบตัวอยู่ในป่า หลิวปังเชิญมาก็ไม่รับ แต่นามยังขจรไกลว่า สี่ฤาษีเฒ่าบนยอดเขา” ปัญหานี้จากพระราชวังถ้าอยู่ในมือของสี่ผู้เฒ่าหลิวปังจะเอาคำถามเรื่องตำแหน่งมกุฎราชกุมารไปปรึกษา ผลลัพธ์ในความหมายของหลู่โฮ้วมอบให้แก่จางเหลียง ถ้าหลิวปังนำเรื่องนี้มาปรึกษาจางเหลียง ให้จางเหลียงอย่าเข้าเฝ้า วันนี้เรื่องของมกุฎราชกุมารกลายเป็นเรื่องที่ตามองไม่เห็นอย่างเต็มเปี่ยม เป็นเรื่องยาก ยังไม่มีวิธีแก้ไข เป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะลงนามแต่งตั้ง ในที่สุดองค์ชายเสี้ยวหุยจะได้ครองบังลังค์สืบต่อจากหลิวปังตามเดิม จากนั้นหลู่โฮ้วทำความเคารพจางเหลียงและลาจากไป

บันทึกในประวัติศาสตร์ในจดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่น การช่วยเหลือของเซียวเหอแก่จางเหลียงในการวางแผนยุทธศาสตร์ไม่มีการบันทึก แต่เซียวเหอก็มีบทบาทสำคัญทัดเทียมกับจางเหลียงในภายหลัง ในลำดับของการจัดวางอำนาจ ฮั่นเกาจูหลิวปังยกพลเรือนสามหมื่นครอบครัวของแคว้นฉีให้จางเหลียง จางเหลียงปฎิเสธที่จะรับอย่างสุภาพ แต่ขอให้หลิวปังยกดินแดนหลิวตี้ (留地 ปัจจุบันคือเขตเพ่ยเสี้ยน沛县ในมณฑลเจียงซู)ให้ หลิวปังตกลง เป็นถิ่นฐานที่จางเหลียงพำนักในบั้นปลาย จางเหลียงลาออกจากราชการโดยให้เหตุผลว่า “แผ่นดินหานหลังจากปราชัยบัดนี้เข้าสู่ภาวะปกติ แผ่นดินนี้มีประชากรหมื่นครอบครัว แต่งตั้งข้าพเจ้าดูแลแผ่นดินนี้เป็นที่พอใจของข้าพเจ้าแล้ว เมื่อเห็นการปกครองของราชวงศ์ฮั่นเป็นปึกแผ่นขึ้นเรื่อยๆ กิจการของประเทศมีคนวางแผนและดูแล มีการแก้ไขข้อผิดพลาดของระบบการเมืองที่เข้มแข็งในอดีตของราชวงศ์ฉิน มีการแบ่งเขตปกครองดินแดนและแต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่ง เป้าหมายที่ข้าพเจ้าใฝ่ฝันได้บรรลุแล้ว ข้าพเจ้าขอกลับไปเป็นสามัญชนคนธรรมดา”

จากการที่จางเหลียงพยายามทำให้ร่างกายอ่อนแอป่วยเป็นไข้ และการเห็นจุดจบของเผิงเยว่ และหานซิ่นที่ตายอย่างน่าอนาถใจ รวมทั้งฟ่านหลี (范蠡)กับ ซิ่งเย่ว (兴越)ซึ่งไม่ทราบว่าหลบหนีไปหรือโดนประหาร จางเหลียงเข้าใจลึกซึ้งในปรัชญาที่ว่า “แรคคูนตาย จับหมากิน นกหยุดบิน คันศรดี ศัตรูแพ้พ่าย กุนซือตาย” (狡兔死,走狗烹;飞鸟尽,良弓藏;敌国破,谋臣亡) ไม่สนใจในผลประโยชน์มหาศาล กลัวจะมีโชคชตาเช่นเดียวกับหานซิ่น จางเหลียงลาออกเงียบๆ ละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง มุ่งมั่นศึกษาศาสนา เชื่อถือในปรัชญาของจักรพรรดิเหลืองและลัทธิเต๋า ทำสมาธิ ใช้ชีวิตเฉกเช่นนักบวช แต่เมื่อหลู่โฮ้วคิดถึงจางเหลียง แนะนำเขาไม่ให้คิดมาก จางเหลียงในที่สุดก็ไม่ฟังคำแนะนำของหลู่โฮ้ว ยังคงจากไปเพื่อเป็นสามัญชน

ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า จางเหลียงตายหลังฮั่นเกาจู่หลิวปัง ปี คือปีที่ 189 ก่อนคริสต์ศักราช ทั้งนี้ข้อมูลประวัติศาสตร์ยังคลุมเคลืออยู่

แล้วประวัติของจางเหลียงก็จบลงโดยสมบูรณ์ เชิญทุกท่านหาความรู้และเกร็ดประวัติให้สำราญใจ

รูปภาพของ วี่ฟัด

หลายชีวิตในพงศาวดารสามก๊ก กาเซี่ยง ปีศาจกลยุทธ์

ว่ากันว่า “วรรณกรรมคือภาพสะท้อนของมนุษย์และสังคม” เมื่อเราได้อ่านสามก๊ก
จะพบว่า วรรณกรรมเรื่องนี้มีตัวละครอยู่เป็นจำนวนมาก ตัวละครแต่ละตัวต่างมีคุณค่า
และการเรียนรู้และศึกษาที่แตกต่างกันไป การได้รู้จักชีวิตหลายๆแบบตั้งแต่ กษัตริย์
ขุนนาง กุนซือ แม่ทัพ จนถึงประชาชนธรรมดา ทำให้เราได้รู้สึกว่า มนุษย์เราเป็น
สิ่งมีชีวิตที่น่าพิศวงในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

ความรู้สึกของท่านหลังจากอ่านจบในตัวละครแต่ละตัว อาจจะเกิดความครั่นคร้าม
ในชะตากรรมของตัวละครเหล่านั้น และย้อนกลับไปพินิจพิเคราะห์ตนเองว่าเราเป็น
ผู้กำหนดชะตากรรมของตัวเองหรือสิ่งที่มองไม่เห็นเป็นผู้ลิขิต ผู้อ่านจะเกิดอาการปลง
และทำใจยอมรับในความจริงที่ว่า ชีวิตคนเราเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่ยั่งยืน ต่อให้
ร่ำรวยยศถาบรรดาศักดิ์แค่ไหน สุดท้ายทุกชีวิตก็ต้องจบลงที่ความตาย ไม่มีใครที่สามารถ
หนีพ้นวัฏจักรนี้ไปได้ แต่จะตายอย่างไร จะตายพร้อมเกียรติภูมิที่คนข้างหลังยกย่อง
อย่างกวนอู ขงเบ้ง หรือตายพร้อมกับเสียงสาบแช่งอย่างตั๋งโต๊ะ โดยพร้อมกับการ
ตั้งคำถามที่ว่า "ชีวิตที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เราสามารถลิขิตได้เองจริงหรือ ? "
ตัวละคร ตัวแรกที่ผมอยากเอ่ยถึง คือ กาเซี่ยง เพราะตัวละครตัวนี้ทำให้ผมทั้งรักทั้งเกลียด ได้ในคราเดียวกัน ชื่นชอบเพราะสามารถลิขิตชีวิตได้เอง แม้จะต้องเปลี่ยนนายหลายคน แต่เปลี่ยนเจ้านายแล้วมีความเจริญ ในหน้าที่ราชการสูงกว่าเดิม เพราะประเมินนายได้เก่ง สำหรับความเก่ง เก่งขนาดไหน ก็ขนาดที่ว่าได้รับยกย่องว่าเป็นบุคคลที่เสมือนเอาตันแผงและ เตียวเหลียงมารวมกัน ในประเทศจีนเทียบกาเซี่ยงว่ามีสติปัญญาทัดเทียมฮกหลงเลยทีเดียว แต่ที่ผมไม่ชอบ ก็เพราะ กาเซี่ยงคนนี้แหละครับที่มีส่วนทำให้แผ่นดินจีนต้องแตกออกเป็นสามก๊ก มีส่วนอย่างไรลองเข้าไปอ่านดูครับ

ภาพ กาเซี่ยง จากเรื่องหงสาจอมราชันย์

กาเซี่ยง ปีศาจกลยุทธ์

เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ที่ปรึกษาคนสำคัญของเตียวสิ้ว

มีชื่อรองว่า เหวินเหอ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 690 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 766 เป็นคนมีประสบการณ์สูงและมีสติปัญญาเป็นเลิศ เริ่มแรกเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลิฉุยและกุยกี ด้วยสติปัญญาอันสูงส่ง สามารถทำให้ลิฉุย กุยกีอยู่บนอำนาจได้นาน แต่ต่อมาเกิดไม่พอใจลิฉุยและกุยกี จึงไปอยู่กับเตียวสิ้ว

ในนิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่อง สามก๊ก อันลือชื่อนั้น มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับ
ลิ่วล้อที่ชอบเปลี่ยนนายอย่าง เบ้งตัด ตอนแรกก็อยู่กับ เล่าเจี้ยง พอเล่าปี่ได้เมืองเสฉวน ก็ยอมอยู่กับเล่าปี่ พอมีคดีเรื่องไม่ยกทหารไปช่วยกวนอู จนกวนอูแพ้
ซุนกวน ถูกจับไปประหารชีวิต ก็เลยหนีไปอยู่กับพระเจ้าโจผี ทายาทของ โจโฉ ต่อมาสมัยพระเจ้า โจยอย ไม่ชอบใจก็จะย้ายกลับมาเข้ากับ ขงเบ้ง เลยถูก สุมาอี้ จัดการสังหารเสีย แล้วก็ยังมีอีกหลายคน ที่เปลี่ยนนายแล้วชะตาชีวิตก็แย่ลง ไม่เจริญรุ่งเรืองอย่างที่คิดหวัง แต่ผมยกให้คนหนึ่ง ที่เปลี่ยนเจ้านายแล้วมีความเจริญ ในหน้าที่ราชการสูงชึ้นกว่าเดิม คนคนนั้นก็คือ กาเซี่ยง

แต่อย่างว่าละครับ การที่คนเราเปลี่ยนเจ้านายแล้วมีความเจริญรุ่งเรือง
นอกจาก นายจะให้โอกาสให้แสดงฝีมือแล้ว เราก็ต้องเก่งและมีความสามารถที่จะทำให้งานของนายเราประสบความสำเร็จด้วย

กาเซี่ยงเก่งขนาดไหน ก็ขนาดที่ว่าได้รับยกย่องว่าเป็นบุคคลที่เสมือนเอาตันแผงและเตียวเหลียงมารวมกัน เป็นที่ปรึกษาที่วางแผนไม่เคยผิดพลาด และเป็นอีกคนในเรื่องสามก๊ก นอกจากจูล่งที่ได้ตายดี คือแก่ตายไม่ได้ตายในสงครามหรือเจ็บช้ำน้ำใจจนตายเหมือนตัวละครสามคนในเรื่องสามก๊ก แต่กาเซี่ยงคนนี้แหละครับที่มีส่วนทำให้แผ่นดินจีนต้องแตกออกเป็นสามก๊ก เพราะกาเซี่ยงผู้นี้เองที่สนับสนุนโจผีในการยึดบัลลังก์จากพระเจ้าเหี้ยนเต้ ทำให้เล่าปี่ และซุนกวนประกาศตัวเป็นกษัตริย์ตามมา

๑. ช่วย ลิฉุย กุยกี ชนะอ้องอุ้น และ ลิโป้

กาเซี่ยง ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีเป็นกุนซือ หรือที่ปรึกษาของ ลิฉุย และกุยกี
สองสหายคู่บารมีของตั๋งโต๊ะ มหาอุปราชคนแรกของ พระเจ้าเหี้ยนเต้ หรือ
หองจูเหียบ ราชโอรสคนรองของพระเจ้าเลนเต้ ที่ตั๋งโต๊ะยกขึ้นเป็นฮ่องเต้ แทน หองจูเปียนพี่ชาย

เมื่อตั๋งโต๊ะถูกฆ่าตาย โดยฝีมือของ ลิโป้ บุตรบุญธรรมคนโปรด เพราะขัดใจกันเรื่อง นางเตียวเสียน ไส้ศึกของอ้องอุ้นแล้ว ลิ่วล้อของตั๋งโต๊ะ คือ ลิยู ลิซก ขุนนางผู้ใหญ่ที่เป็นคนสนิทก็ถุกกำจัดไปพร้อมกันด้วยแล้ว ลิฉุย กับ กุยกี และนายทหารรอง เตียวเจ กับหวนเตียว ก็พากันหนีไปตั้งหลักที่เมืองเซียงไส แล้วแต่งหนังสือมาขอนิรโทษกรรม กับอ้องอุ้น ผู้สำเร็จราชการคนใหม่ ขอเข้ารับราชการตามเดิม แต่อ้องอุ้นไม่ยอมอภัยโทษให้ ถ้าจับตัวได้เมื่อไรก็ต้องโดนประหารทุกคน

ทั้งสี่นายก็ปรึกษากันว่า ต่างคนควรจะแยกย้ายกันหนีเอาตัวรอดไปคนละทาง แต่ กาเซี่ยง ให้ความเห็นว่า

“....ซึ่งจะคิดหนีนั้นเห็นไม่พ้น ขอได้เกลี้ยกล่อมชาวเมืองเซียงไสได้แล้ว ประจบกับกองทัพเรา ยกไปตีเอาเมืองเตียงฮัน ถ้าได้เมืองแล้ว จึงจะให้ฆ่าอ้องอุ้นเสีย แลท่านทั้งสี่คนนี้ จึงจะได้ทำราชการในเมืองหลวงสืบไป แม้ไม่สมคิด จึงพากันหนี....”

ทั้งสี่นายก็เห็นชอบด้วย จึงให้ทหารที่มีสติปัญญา ไปเจรจากับชาวเมืองเซียงไสว่า อ้องอุ้นได้เป็นใหญ่แล้ว จะยกทหารมาฆ่าชาวเมืองเซียงไส ซึ่งหาความผิดมิได้ให้สิ้น ถ้าผู้ใดกลัวความตายก็ให้ไปรายงานตัว กับลิฉุย เพื่อยกกองทัพไปปราบอ้องอุ้น จึงจะรอดตัว ก็มีชาวเมืองเซียงไสชวนกันมาเข้าพวกกับสี่สหายเป็นจำนวนถึงสิบห้าหมื่น ลิฉุยจึงแบ่งทหารให้กุยกี เตียวเจ หวนเตียว และตนเองยกไปเป็นสี่กอง เข้าล้อมเมืองเตียงฮัน

ฝ่ายอ้องอุ้นก็ให้ลิโป้เป็นแม่ทัพ เข้ารบพุ่งกับฝ่ายลิฉุย กุยกี เป็นเวลานานพอสมควร แต่สู้กลยุทธของข้าศึกไม่ได้ สุดท้าย ฝ่ายลิฉุยก็เข้าเมืองได้ ฆ่าอ้องอุ้นตาย และลิโป้ก็ต้องหนีเตลิดไปอยู่หัวเมืองอื่น จนตั้งตัวได้ที่เมืองชีจิ๋ว ลิฉุย กับกุยกี ก็ได้เป็นผู้สำเร็จราชการฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ่น ไปตามธรรมเนียม เตียวเจ กับหวนเตียวก็ได้เป็นแม่ทัพทั้งสองคน และกาเซี่ยงกุนซือคนเก่ง ก็ได้เป็นที่ปรึกษาใหญ่คับเมืองต่อไป

๒. วางแผน ช่วย เตียวสิ้ว ชนะ โจโฉ

อยู่ต่อมาอีกไม่นาน พระเจ้าเหี้ยนเต้ หาทางติดต่อให้โจโฉ ซึ่งตั้งหลักฐาน
อยู่ที่เมืองกุนจิ๋ว เข้ามาปราบ ลิฉุย กุยกีได้สำเร็จ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการคนต่อไป กาเซี่ยงกับเตียวเจจึงหนีไปอยู่กับ เตียวสิ้ว เจ้าเมืองอ้วนเซีย จนเตียวเจถึงแก่ความตาย ทิ้งภรรยา ชื่อนางเจ๋าซือไว้เป็นแม่ม่ายทรงเครื่องมีชื่อเสียงโด่งดังในเมืองอ้วนเซีย ในฐานะอาสะใภ้ของเจ้าเมือง
จนเวลาล่วงไปเมื่อจัดราชการในเมืองหลวงเรียบร้อยแล้ว โจโฉจึงยกกองทัพจะมาตีเมืองอ้วนเซีย ที่ยังไม่ยอมอยู่ในความปกครอง แต่กาเซี่ยงแนะนำให้เตียวสิ้ว ยอมอ่อนน้อมต่อโจโฉ เพื่อสงวนชีวิตทหารไว้ก่อน ซึ่งโจโฉก็ยอมรับ และไม่ยกกองทหารเข้าไปอยู่ในเมือง แต่แล้วก็เกิดเรื่องจนได้

เมื่อโจโฉได้ยินกิตติศัพท์ของนางเจ๋าซือ จึงให้หลานชายไปพานางมาหาในค่ายของตนที่นอกเมือง นางไม่กล้าขัดขืนจึงยอมอยู่ปรนนิบัติโจโฉ ตามบัญชาของท่านผู้สำเร็จราชการ เตียวสิ้วก็คิดแค้นที่โจโฉดูหมิ่นตน จึงปรึกษากับกาเซี่ยง กาเซี่ยงก็ได้วางแผนมากมายให้เตียวสิ้ว วางแผนลอบโจมตีค่ายทหารของโจโฉ ในเวลาที่โจโฉมัวเมาอยู่กับนางเจ๋าซือ จนพ่ายแพ้อย่างยับเยินต้องสูญเสีย เตียนอุย นายทหารองค์รักษ์คนสนิท โจงั่งผู้บุตรและโจอันบิ๋นผู้หลานด้วย ยังความเจ็บแค้นให้แก่โจโฉเป็นอันมาก

๓. วางแผน ช่วย เตียวสิ้ว ร่วมมือกับ เล่าเปียว ชนะ โจโฉซ้ำสอง

ภายหลังที่โจโฉรบกับ อ้วนสุด น้องอ้วนเสี้ยว อยู่ทางเมืองลำหยง ก็ได้ข่าวว่า เตียวสิ้วร่วมมือกับเล่าเปียว เจ้าเมืองเกงจิ๋ว ยกทัพมาตีเมืองซงหยงกับเมืองกังเหล็ง ที่เป็นหัวเมืองขึ้น จึงล่าทัพจากเมืองลำหยงหันมาจะเล่นงานเตียวสิ้ว คู่อาฆาตเก่าที่เมืองซงหยง เตียวสิ้วก็เข้าไปยึดเมืองซงหยงปิดประตูตั้งป้อมรักษาเชิงเทินให้มั่นคงจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด

การรบคราวนี้ โจโฉทำอุบายจะเผากำแพงเมืองด้านตะวันตก โดยหลอกให้ เตียวสิ้วป้องกัน แล้วจะได้ยกทหารไปตีด้านอื่น กาเซี่ยงจึงบอกว่า

“................ซึ่งโจโฉให้ทำการครั้งนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าโจโฉทำกลอุบาย ข้าพเจ้าจะคิดซ้อนกลโจโฉ ให้เสียทีแก่เราให้จงได้........”

เตียวสิ้วถามว่าจะทำประการใด กาเซี่ยงก็บอกว่า

“........ข้าพเจ้าเห็นโจโฉขึ้นดูบนหอคอยถึงสามเวลา เห็นผู้คนซึ่งรักษาหน้าที่ด้านตะวันออกนั้นเบาบาง โจโฉจึงให้ขนเอาไม้แลหญ้าไปไว้ข้างตะวันตก จะให้เราจัดแจงป้องกันระวังด้านตะวันตก แล้วโจโฉจะคิดการข้างตะวันออกในเวลากลางคืนเป็นมั่นคง ข้าพเจ้าจะให้ชาวเมืองแต่งตัวปลอมเป็นทหารขึ้นรักษาหน้าที่ฝ่ายด้านตะวันตก แล้วจะยกทหารนั้นมาซุ่มไว้หน้าที่ตะวันออก ถ้าโจโฉยกมาทำการเมื่อใด จึงให้จุดประทัดสัญญาณ แล้วยกทหารซึ่งซุ่มไว้นั้น ตีกระหนาบ เห็น โจโฉจะเสียทีแก่เราเป็นมั่นคง......”

ในการรบครั้งนี้โจโฉก็ทำตามแผนของกาเซี่ยงที่วางซ้อนกลไว้ ในเวลาสองยามเศษ แต่ผลของการเข้าตี ปรากฏว่าฝ่ายโจโฉต้องแตกพ่าย ถอยไปเข้าค่าย เตียวสิ้วก็คุมทหารติดตามไปตีค่ายแตกอีกด้วย ทหารเอกของโจโฉก็ถูกเกาทัณฑ์บาดเจ็บไปสองคน ทหารเลวบาดเจ็บล้มตายไปเป็นหมื่น แต่สามารถควบคุมทหารที่เหลือถอยทัพมาได้อย่างเป็นระเบียบ และตั้งแนวดักรับทหารของเตียวสิ้วที่ตามไปในเวลากลางคืน จึงถูกทหารของโจโฉล้อมกรอบสังหาร จนต้องแตกกลับไปบ้าง

เมื่อโจโฉยกทัพกลับไปใกล้จะถึงถึงเมืองฮูโต๋แล้ว เตียวสิ้วก็รวมกำลังกับกองทัพเล่าเปียวจะยกทัพไปตีโจโฉตอบแทนบ้าง กาเซี่ยงก็ห้ามปรามไว้ แต่เล่าเปียวนั้นไม่ฟัง ชวนเตียวสิ้วยกตามไปตีโจโฉ แต่โจโฉเตรียมการตั้งรับไว้แล้ว จึงยันทัพทั้งสองเสียหายกลับมา เตียวสิ้วจึงขอโทษกาเซี่ยงที่ไม่เชื่อคำแนะนำ

แต่กาเซึ่ยงกลับแนะนำว่า

“.......บัดนี้ขอให้ท่านยกตามโจโฉไปอีก เห็นจะได้ชัยชนะเป็นมั่นคง ถ้าไม่สมคำข้าพเจ้า ท่านจงตัดศีรษะข้าพเจ้าเสีย.......”

เตียวสิ้วก็เชื่อคำกาเซี่ยง ชวนเล่าเปียวยกทหารไปอีกครั้ง แต่เล่าเปียวเข็ดเสียแล้ว เตียวสิ้วจึงยกไปกองเดียว โจโฉกำลังประมาทนึกว่าเตียวสิ้วเลิกทัพไปแล้ว จึงถูกเตียวสิ้วตีแตกพ่ายไปอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกลับมาถึงค่ายแล้ว เล่าเปียวก็ถามกาเซี่ยงว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น กาเซี่ยงก็ตอบว่า

“........ท่านเคยทำศึกมามากก็จริง แต่ความคิดท่านไม่รู้ถึงโจโฉ เมื่อแรกโจโฉยกไปนั้น หมายว่ากองทัพเราจะตามไป จึงให้ทหารมาอยู่ป้องกันข้างท้ายล้วนมีฝีมือกว่าทหารเรา เราจึงแตกมา ครั้งหลังโจโฉประมาทมิได้ตระเตรียมทหารไว้ตามกระบวนทัพ แล้วก็กังวลอยู่จะรีบไปเมืองฮูโต๋ เราจึงตีแตกโดยง่าย..........”
ล่าเปียวกับเตียวสิ้ว ก็สรรเสริญความคิดกาเซี่ยง ว่ามีสติปัญญาหาผู้เสมอยาก.

๔. แนะนำให้เตียวสิ้วสวามิภักดิ์กับโจโฉ

ต่อมาเมื่อโจโฉได้รับความร่วมมือจากเล่าปี่ ช่วยกันตีเมืองชีจิ๋วจับลิโป้มา
ประหารเสียได้ และเล่าปี่ขออาสาโจโฉไปรบกับอ้วนสุด จนอ้วนสุดพ่ายแพ้และถึงแก่ความตายไป โจโฉก็จับได้ว่าเล่าปี่เคยลงนามร่วมมือกับตังสินพี่ชายของนางตังกุยฮุย สนมเอกของพระเจ้าเหี้ยนเต้ เพื่อกำจัดโจโฉ ซึ่งโจโฉจับมาประหารเสียหมดทั้งโคตรแล้วนั้น จึงจะยกทัพไปปราบเล่าปี่ ซึ่งตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองชีจิ๋วแทน
ลิโป้ และกำลังร่วมมือกับอ้วนเสี้ยวจะยกทหารมารบโจโฉอยู่

ที่ปรึกษาก็แนะนำ ให้โจโฉเกลี้ยกล่อมเตียวสิ้วไว้เป็นพวก ก่อนที่จะไปเข้าด้วยอ้วนเสี้ยว โจโฉจึงส่ง เล่าหัว ให้ถือหนังสือไปเกลี้ยกล่อมเตียวสิ้ว พอดีกับ

อ้วนเสี้ยวก็ส่งทหารไปหาเตียวสิ้วด้วยเหมือนกัน กาเซี่ยงก็ฉีกหนังสือของอ้วนเสี้ยวทิ้ง และแนะนำให้เตียวสิ้วเข้าเป็นพวกโจโฉ รบกับอ้วนเสี้ยวแทน เตียวสิ้วก็สงสัยเพราะโจโฉเป็นข้าศึกเก่า เคยรบพุ่งกันมาหลายครั้งแล้ว ถ้าอ้วนเสี้ยวยกทัพมาจะทำอย่างไร กาเซี่ยงจึงอธิบายว่า

“............ถ้าท่านเกรงอยู่ดังนั้น เราจำจะเข้าทำการด้วยโจโฉ ถึงอ้วนเสี้ยวจะยกมาทำร้าย โจโฉก็จะได้ช่วย......”

เตียวสิ้วก็ว่า แม้โจโฉจะเป็นมหาอุปราช แต่ก็มีทหารน้อยกว่าอ้วนเสี้ยวหลายเท่า ทั้งเคยรบพุ่งกับเรามาแต่ก่อน คงจะพยาบาทเราอยู่ไม่หาย แล้วจะมาช่วยเราหรือ กาเซี่ยงก็อธิบายว่า

“.........ซึ่งจะกลัวโจโฉพยาบาทนั้น ท่านอย่าวิตกเลย ถ้าจะไปเข้าด้วยโจโฉ ข้าพเจ้าเห็นชอบด้วยสามประการ.....”

แล้วก็แถลงรายละเอียดว่า

ประการหนึ่ง โจโฉได้เป็นมหาอุปราช แม้จะทำการสิ่งใด ก็ถือเอารับสั่งพระเจ้าเหี้ยนเต้เป็นประมาณ

ประการหนึ่ง ถึงโจโฉมีทหารน้อย แต่มีสติปัญญากว้างขวาง จะทำการสงครามแห่งใด ก็ย่อมมีชัยชนะมากกว่าแพ้ อ้วนเสี้ยวซึ่งมีทหารมากนั้น อุปมาเหมือนคนมีทรัพย์มาก ท่านจะเอาทรัพย์ไปให้ จะไม่มีความยินดี อันโจโฉนั้นเหมือนคนไร้ทรัพย์ เอาทรัพย์ไปให้แต่น้อย ก็มีความยินดีเป็นอันมาก

ประการหนึ่ง โจโฉทำการครั้งนี้ มีใจโอบอ้อมอารีต่อทหารทั้งปวง มิได้มีพยาบาทแก่ผู้ใด คิดเอาราชการเป็นประมาณ

เตียวสิ้วก็เห็นชอบด้วย จึงยกทหารไปคำนับโจโฉที่เมืองฮูโต๋ โจโฉก็ต้อนรับ เตียวสิ้ว กับ กาเซี่ยงด้วยความยินดี เชิญนั่งในที่อันสมควรแล้วกล่าวว่า

“...........ก่อนนั้นเราได้ประมาทมีความผิดต่อท่านนั้น ท่านจงอดโทษเสีย อย่ามีความพยาบาทเราเลย......”

แล้วก็แต่งตั้งให้เตียวสิ้วเป็นนายทหารผู้ใหญ่ และให้กาเซี่ยงเป็นที่ปรึกษา รับราชการอยู่ในเมืองฮูโต๋ต่อไปอีกนาน

๕. ช่วยโจผีให้ได้เป้นรัชทายาท

หลังจากที่ กาเซี่ยงติดตามโจโฉออกทำศึกเหนือจรดใต้ สร้างผลงานในฐานะที่ปรึกษาทางทหารไว้มาก กลายเป็นที่ปรึกษาสำคัญของโจโฉนับแต่นั้น

เมื่อถึงครั้งที่โจโฉคิดจะแต่งตั้งรัชทายาท โจโฉคิดไม่ตกว่าจะเลือกใครระหว่าง โจผี กับ โจสิด แต่มีแนวโน้มว่าจะเลือกโจสิดมากกว่า
โดย โจผีซึ่งเป็นบุตรคนรอง แต่ก็มีบทบาทในการสืบทอดอำนาจจากโจโฉ เนื่องจากบุตรชายคนโต คือ โจงั่ง ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังอายุน้อย และโจผี ยังได้เคยติดตามบิดาออกไปทำสงครามบ่อยครั้ง ตั้งแต่ยังเยาว์

ขณะที่โจ สิด (Cao Zhi) นั้นเป็นบุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉและนางเปียนซี เป็นบุคคลที่ได้ชื่อว่าเฉลียวฉลาดมาก อายุเพียง 10 ขวบ สามารถท่องจำโคลงกลอนได้ถึง 1 แสนบท จนกล่าวกันว่า ถ้าปัญญาของคนทั่วไปมี 1 ส่วน แต่ของโจสิดมีถึง 10 ส่วน

โจ สิด เป็นบุตรชายที่โจโฉรักมากเพราะความปราดเปรื่องทางสติปัญญา และมักแต่งโคลงสดุดีโจโฉเสมอ ๆ

โจผีร้อนใจจึงรุดไปปรึกษากาเซี่ยง และด้วยอุบายของกาเซี่ยง ที่แนะนำ โจผี โดยบอกว่า ในการแข่งกับน้องนั้น ท่านอย่าไปแข่งขันกับสิ่งที่เป็นจุดแข็งของน้อง แต่ให้ใช้จุดแข็งของท่านเข้าสู้ เพราะจริงๆแล้ว ถึงแม้โจผีจะเชี่ยวชาญในการแต่งกลอน กาพย์กวี เช่นเดียวกับโจโฉผู้บิดา แต่เมื่อเทียบกับโจสิดแล้วยังสู้ไม่ได้ ขณะที่ โจ สิด แต่งโคลงสดุดีโจโฉเสมอ ๆ ยามออกรบ แต่กาเซี่ยงให้โจผีใช้ความจริงใจ ความห่วงใยต่อโจโฉยามออกรบแทน

และเมื่อ โจโฉถามกาเซี่ยงเรื่องรัชทายาทว่าจะตั้งใครระหว่างโจผีและโจสิด กาเซี่ยงก็ทำทีเป็นไม่ได้ยิน เสมือนกำลังคิดถึงเรื่องอื่นอยู่ จนโจโฉต้องถามว่าคิดถึงเรื่องอะไรอยู่ กาเซี่ยงตอบชัดถ้อยชัดคำว่า "นายครับ ผมกำลังคิดถึงเรื่องที่ตระกูลของเล่าเปียวและอ้วนเสี้ยวที่ตายหมดไปแล้วทั้งคู่" และไม่พูดถึงเรื่องที่โจโฉถาม แต่นี่แหละครับคือการตอบโดยไม่ต้องตอบ เพราะความหมายของคำตอบนี้ก็คือเล่าเปียวและอ้วนเสี้ยวไม่ได้ตั้งลูกชายคนโตเป็นรัชทายาท ให้ผู้น้องเป็นรัชทายาทแทน ทำให้เกิดเรื่องวุ่นวายตามมาภายหลัง ควรที่จะตั้งโจผีลูกชายคนโตของโจโฉขึ้นเป็นรัชทายาทแทน ซึ่งทำให้โจโฉได้คิดและเห็นด้วยกับความคิดนี้ โจผีจึงได้เป็นรัชทายาทคนต่อไป เรียกได้ว่ากาเซี่ยงมีส่วนทำให้โจผีได้ครองราชย์ต่อจากโจโฉ โจผีก็รู้ว่าตำแหน่งของเขาได้มาเพราะการสนับสนุนของเขา จึงแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในสามองคมนตรี

ก่อนจะพูดถึงผลงานของกาเซี่ยง ต่อไป ขอนอกเรื่องนิดนึงครับ คือเมื่อโจผีขึ้นครองราชย์ ทรงคิดที่จะกำจัดโจสิด พระอนุชาแท้ๆ เพราะถือว่าเป็นศัตรูคนหนึ่งของพระองค์ และข้องใจว่า โจ สิด ปราดเปรื่องจริงหรือไม่ จึงบีบบังคับให้ โจสิดแต่งบทกวีภายใน 7 ก้าว กล่าวถึงพี่น้องที่มิอาจฆ่ากัน แต่ห้ามไม่ให้เอ่ยคำว่าพี่น้องในบทกวีนั้นไม่เช่นนั้นจะสั่งประหารชีวิต

นี่แหละครับคือ ที่มาของ “บทกวี 7 ก้าว” ที่เปรียบความคับแค้นเศร้าโศกของต้นถั่ว ที่เกิดแต่การใช้เถาถั่วซึ่งกำเนิดแต่รากเดียวกันไปต้มหรือคั่วถั่ว เทียบกับความเศร้าโศกอาดูรของพี่น้องญาติตระกูลเดียวกัน ไม่มีเรื่องใดยิ่งใหญ่ล้ำลึกกว่าการที่พี่น้องต้องล้างผลาญกันเอง

ซึ่งมีความเป็นร้อยแก้วตามสำนวนของท่านเจ้าพระยา ดังนี้

คั่วถั่วเอากิ่งถั่วมาเป็นฟืนใส่ไฟ เมล็ดถั่วในกระทะจะไหม้
ก็เพราะกิ่งถั่ว ต้นรากอันเดียวกันนั่นเอง
เหตุใดจึงเร่งไฟเข้าให้หนักนัก
....
ซึ่งในสามก๊กฉบับแปลใหม่ ของ วรรณไว พัธโนทัย ได้เรียบเรียงเป็นกลอน ไว้ว่า

เขาต้มถั่วด้วยถั่วเป็นต้นต้น
มันร้อนรนร้องลั่นจากอวยใหญ่
โอ้เกิดหน่อเดียวกันใช่ห่างไกล
เหตุไฉนเข่นฆ่าไม่ปราณี
....
และในสามก๊กฉบับคลาสสิค ของ วิวัฒน์ ประชาเรืองวิทย์ ก็ได้เรียบเรียงไว้เป็นกาพย์มีความว่า

เถาถั่วเผาต้มถั่ว ร่ำระรัวถั่วในกระทะ
ร่วมรากเกิดแล้วจะ เร่งเผาผลาญกันทำไม

สำนวนสุดท้ายเป็นของ “เล่าเซี่ยงชุน” ผู้เรียบเรียงสามก๊กฉบับลิ่วล้อก็เป็นกลอนแปดเช่นเดียวกัน

เมล็ดถั่วถูกคั่วกะทะใหญ่
กลางเปลวไฟไหม้เชื้อร้อนเหลือหลาย ทั้งกิ่งก้านรากเถาเผาวอดวาย
โอ้น่าอายแท้จริงเราเหง้าเดียวกัน.

เมื่อ โจผีได้ฟังโคลงบทนี้แล้ว ก็ระลึกถึงความรักความผูกพัน ระหว่างพี่น้องได้ จึงต้องหลั่งน้ำตาออกมาด้วยความเสียใจ และยอมอภัยให้แก่น้องชาย และไม่สั่งประหารชีวิต แต่เนรเทศโจสิดออกไปนอกเมืองแทน และไม่นาน โจสิดก็ถึงแก่ความตายด้วยความตรอมใจ ในปี พ.ศ. 775

๖. สนับสนุนโจผีในการยึดบัลลังก์จากพระเจ้าเหี้ยนเต้

เมื่อโจโฉสิ้นชีวิตไปด้วยโรคในสมอง และโจผีบุตรชายคนโตก็ได้ตำแหน่ง วุยอ๋อง แทนบิดา กาเซี่ยงก็รับราชการเป็นที่ปรึกษาของวุยอ๋อง จนกระทั่งขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อย คิดจะถอดพระเจ้าเหี้ยนเต้ออกจากราชบัลลังก์ แล้วยกโจผีจากตำแหน่งวุยอ๋องขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน กาเซี่ยงก็เป็นผู้หนึ่งในจำนวนประมาณสี่สิบคน ที่เข้าไปเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ที่เมืองฮูโต๋ แล้วกราบทูลว่า

“........โจผีเป็นวุยอ๋องแทนบิดานั้นมีบุญมาก แล้วก็มีสติปัญญารู้รอบคอบโอบอ้อมไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ราษฎรทั้งปวงก็อยู่เย็นเป็นสุข ข้าพเจ้าขุนนางทั้งปวง แลทหารผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ปรึกษาพร้อมกันเห็นสมควรแล้ว ที่จะปกป้องรักษาแผ่นดินสืบไปได้ ขอให้พระองค์มอบราชสมบัติให้แก่โจผีเถิด ..............”

พระเจ้าเหี้ยนเต้จะปฏิเสธบ่ายเบี่ยงหรือผัดผ่อนอย่างไร พวกขุนนางทั้งนั้นก็ชวนกันข่มขู่ฮ่องเต้ และสรุปว่า

“........เป็นประเพณีมีมาแต่โบราณ ที่ดีกลับเป็นชั่ว ที่ชั่วกลับเป็นดีก็มี เหมือนหนึ่งบ้านเมืองมั่งคั่งบริบูรณ์อยู่แล้ว กลับเกิดศึกยับเยินไปก็มี ที่ยับเยินไปแล้วกลับมั่งคั่งบริบูรณ์อยู่เย็นเป็นสุขไปก็มี สมบัติซึ่งได้สืบต่อแต่ต้นวงศ์ของพระองค์มาช้านาน ประมาณสี่ห้าร้อยปีแล้ว....ขอให้พระองค์ละราชสมบัติมอบให้โจผีเถิด ถ้าพระองค์จะขัดขืนไป เห็นจะเป็นอันตรายเป็นมั่นคง.....”

พระเจ้าเหี้ยนเต้ไม่เห็นผู้ใดจะเข้าข้างพระองค์เลย จึงไม่สามารถขัดขืนได้ ต้องยอมตกลงที่จะมอบราชสมบัติให้โจผี เพื่อรักษาชีวิตไว้ก่อน แม้นางโจเฮามเหสีซึ่งเป็นบุตรีของ โจโฉ จะได้ออกมาด่าว่าและทวงบุญทวงคุณขุนนางทั้งหลายเหล่านั้น ก็ไม่เป็นผล จึงจำใจต้องทำหนังสือมอบราชสมบัติให้ โจผี แต่กาเซี่ยงก็แนะนำให้คืนไปก่อน จนส่งมาเป็นครั้งที่สามจึงยอมรับ

แล้วขุนนางก็ถวายพระนามว่า พระเจ้าอ้วยโซ่ ฮ่องเต้ใหม่ก็ตั้งให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ หรือนามเดิม หองจูเหียบ เป็นที่ ซันเอียงก๋ง ให้ไปอยู่ตำบลซันเอี๋ยง และไม่ต้องมาเฝ้า ไม่มีเบี้ยหวัดผ้าปี

ซันเอียงก๋งก็กราบถวายบังคมลา พาภรรยาเดินทางจากเมืองหลวงไปตามรับสั่ง แล้วก็เงียบหายสาบสูญไปไม่ได้ข่าวคราวอีกเลย

และประเด็นนี้เองที่ผมมองว่า แม้ กาเซี่ยงจะทำงานให้นายสำเร็จ คือช่วย โจผี ล้มราชวงศ์เก่า คือราชวงศ์ฮั่น และตั้งราชวงศ์ขึ้นใหม่ คือ ราชวงศ์วุย แต่เพราะเหตุนี้แหละครับ แผ่นดินจีนจึงแตกเป็นสามก๊กโดยสมบูรณ์แบบ เพราะเล่าปี่ถือว่าตนเองเป็นเชื้อสายราชวงศ์ฮั่น ไม่ยอมรับ พระเจ้าโจผีเป็นกษัตริย์ จึงตั้งตัวเองเป็นกษัตริย์สืบราชวงศ์ฮั่น ใช้เมืองเสฉวนเป็นราชธานี ซุนกวนก็ไม่ยอมขึ้นกับพระเจ้าโจผีหรือเล่าปี่ ก็ตั้งตัวเป็นกษัตริย์บ้าง มีเมืองกังตั๋งเป็นราชธานี

แต่โดยสรุปก็ถือว่า กาเซี่ยงเป็นกุนซือที่เพียบพร้อมไปด้วยสติปัญญาและนิสัยอีกคนหนึ่ง ในขณะที่โจผีครองราชย์ได้ 3 ปี นับว่าสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ฝ่ายวุยก๊กมหาศาลนับว่าเป็นอัฉริยะที่เกิดขึ้นมาในยุคสามก๊กอีกคนหนึ่งโดยในประเทศจีนเทียบกาเซี่ยงว่ามีสติปัญญาทัดเทียมฮกหลงเลยทีเดียว เนื่องจากแผนการที่ออกมาจากมันสมองของกาเซี่ยงนั้นไม่เคยผิดพลาดเลยซักครั้ง

กาเซี่ยงก่อนจะถึงแก่กรรมได้สั่งเสียลูกๆไว้ว่าให้ทำตนรักสันโดดไม่เด่นดังเพราะจะนำภัยมาสู่ตน และกาเซี่ยงก็สิ้นอายุขัยในวัย 77 ปี ซึ่งเมื่อกาเซี่ยงสิ้นแล้วพระเจ้าโจผีก็ได้แต่งตั้งกาเซี่ยงเป็น "เจ้าพระยาสมถะ" และได้รับการยกย่องจากเหล่าแม่ทัพนายกองของวุยก๊กมาก

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal